การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ Foreign Laborers Administration of Entrepreneurs at Bang Phli District, Samut Prakran Province
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของหลักสังคหวัตถุ 4 กับการบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อ การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 332 คน จากประชากรซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว ทั้งหมด1,950 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับที่ระดับความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดย สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D. = 0.677) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ 5 ด้าน ด้านการบังคับบัญชาสั่งการ ( = 3.88, S.D. = 0.734) ด้านการจัดการองค์กรในการทำงาน ( = 3.86, S.D. = 0.728) ด้านการวางแผนในการทำงาน ( = 3.85, S.D. =0.802) ด้านการประสานงานในการทำงาน ( =3.85, S.D. =0.742) ด้านการควบคุมงาน ( = 3.83, S.D. = 0.736) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของ การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าผู้ประกอบการ ที่มีอายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้ประกอบการ ที่มี เพศ ตำแหน่ง ระยะเวลาดำเนินการ ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับการบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า หลักสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (R=0.830) 4. ปัญหา อุปสรรค การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับแรงงานต่างด้าว ปัญหาที่พักอาศัย ปัญหาการยอมรับแรงงานต่างด้าว และปัญหาการขาดแคนแรงงาน ข้อเสนอแนะได้แก่ ด้านการสื่อสารต้องอธิบายและการสั่งการให้ชัดเจน โดยผู้ที่พูดภาษาของแรงงานต่างด้าวได้ ด้านที่พัก ผู้ประกอบการควรอำนวยความสะดวกตามสมควร ด้านการยอมรับ ผู้ประกอบการควรให้ความเสมอภาคระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว ด้านการขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการควรสรรหาแรงงานที่มีความรู้ความสามารถจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และควรเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวได้แสดงความคิดเห็น เพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการFull Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โทรสาร +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ +66(0) 8 1268 1128
http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com