การบริหารจัดการบุคลากรทางการศึกษาเชิงกลยุทธ์ Strategic Management of Educational Personnel

Phra Kosol Maniratana

Abstract


ในปัจจุบันการบริหารจัดการบุคลากรเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การต่างๆ นั้นก็คือ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การกำหนดไว้ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ทำให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะเหมาะกับงานที่ปฏิบัติ สามารถพัฒนาให้ใช้ความสามารถเต็ม ศักยภาพและรักษาบุคลากรเหล่านี้ ให้อยู่กับองค์การได้นานที่สุด

การบริหารจัดการบุคลากรเชิงกลยุทธ์ เป็นงานสำคัญเป็นหัวใจหลักของผู้บริหารระดับสูง เพราะองค์การในยุคโลกาภิวัตน์นี้เป็นยุคที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ดังนั้น องค์การจึงจำเป็นที่จะต้องการบุคลากรที่มีทักษะ มีความชำนาญ มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมีคุณภาพ และมีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ และคงไว้ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ ทำให้ปัจจุบันหน้าที่การจัดการบุคลากรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การจัดการบุคลากรในรูปแบบดั้งเดิมอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ถูกผนวกเข้ากับการจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยการจัดการบุคลากรเชิงกลยุทธ์ได้มีการเคลื่อนย้ายทุนมนุษย์ผ่านกระบวนการการจัดการบุคลากรเพื่อที่จะนำเอากลยุทธ์ขององค์การไปใช้เพื่อประโยชนสูงสุด

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com