ควน: แผนที่คุณค่าทรัพยากรและตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา Mountain: The Map of valuable and food security indicators in Chana Songkhla
Abstract
การศึกษา “ควน: แผนที่คุณค่าทรัพยากรและตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร จัดทำแผนที่คุณค่าทรัพยากร ตลอดจนแนวทางการขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารโดยชุมชน ด้วยการศึกษาแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณ จากแบบเก็บข้อมูลปริมาณ การใช้ประโยชน์ และพื้นที่ทรัพยากร จำนวน 100 ชุด จากฐานทรัพยากรควน (สวนสมรม) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสนทนากลุ่มย่อม ระดมความคิดเห็น สัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์หลักตามฐานทรัพยากร และกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์รอง สามารถสรุปผลการศึกษา ได้ดังต่อไปนี้
1) ความมั่นคงทางอาหารของอำเภอจะนะ พบว่า ทรัพยากรฐานควน มีทรัพยากรจำนวน 5 ประเภท 45 ชนิด มีมูลค่าทรัพยากรสุทธิ 11,416,176.53 บาทต่อเดือน
2) แผนที่คุณค่าทรัพยากร พบว่า ฐานทรัพยากรควน (สวนสมรม) มีพื้นที่ในตำบลคลองเปียะ นาหว้า น้ำขาว ท่าหมอไทร และสะพานไม้แก่น มีปริมาณคุณค่าทรัพยากร คิดเป็นให้โปรตีน 14,577,840 กรัมต่อเดือน ให้คาร์โบไฮเดรต 203,476,040 กรัมต่อเดือน ให้วิตามิน 203,256,040 กรัมต่อเดือน และให้พลังงาน 872,111.53 กิโลแคลอรีต่อเดือน ตามลำดับ
3) ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน พบว่า ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค โดยขาดปริมาณพลังงาน จำนวน 4,815,687,888 กิโลแคลอรีต่อเดือน รองลงมา คือ ขาดปริมาณคาร์โบไฮเดรต จำนวน 519,007,960 กรัมต่อเดือน ขาดปริมาณโปรตีน จำนวน 105,836,160 กรัมต่อเดือน ส่วนวิตามินนั้นมีเกินความต้องการอยู่ จำนวน 32,749,816 กรัมต่อเดือน นอกจากนี้ ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีก 7 ประการ ได้แก่ กระบวนการจัดสรรพื้นที่ กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนา การบริหารจัดการน้ำ การสร้างความสมดุลระหว่างคน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนา ความสามารถในการส่งทอดฐานทรัพยากรแก่คนรุ่นต่อไป ความปลอดภัยของอาหาร และกระบวนการดูแลรักษาฟื้นฟูแหล่งผลิตอาหาร
4) แนวทางการขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พบว่า ฐานทรัพยากรมีกลุ่มคน ซึ่งเป็นแกนนำที่สามารถขับเคลื่อนแนวคิดความมั่นคงทางอาหารต่อได้อย่างชัดเจน เพียงแต่ขาดกระบวนการหลอมรวมให้กระบวนการขับเคลื่อนเป็นรูปธรรม
ข้อเสนอแนะ ควรมีการเผยแพร่ผลการศึกษา โดยเฉพาะตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของอำเภอจะนะที่สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณทรัพยากรที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของคนจะนะ ตลอดจนการศึกษาแนวทาง หรือกระบวนการขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารในเชิงลึกเพื่อสังเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนเชื่อมโยงฐานทรัพยากรในระดับองค์รวมต่อไปFull Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โทรสาร +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ +66(0) 8 1268 1128
http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com