รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของนักเผยแผ่ที่สอดคล้องกับสังคมไทย


Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณค่าของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในการพัฒนาสังคมไทย 2) สังเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของนักเผยแผ่ที่สอดคล้องกับสังคมไทย และ 3) เสนอแนวทางการนำรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปใช้ในการพัฒนาสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพระสงฆ์และฆราวาส ซึ่งเป็นนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย จำนวน 10 คน และใช้การสนทนากลุ่มพระสังฆาธิการระดับจังหวัดและระดับวัด กลุ่มนักวิชาการด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. คุณค่าของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในการพัฒนาสังคมไทย ประกอบด้วย คุณค่า 6 ด้าน ได้แก่ด้านจิตใจ ด้านคุณธรรม ด้านสังคม ด้านสติปัญญา ด้านการดำเนินชีวิต และด้านการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

          2. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของนักเผยแผ่ที่สอดคล้องกับสังคมไทย เป็นรูปแบบเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบเชิงรุก 2) แบบเชิงรับ และ3) แบบผสมผสาน โดยรูปแบบผสมผสานเป็นรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมไทยในปัจจุบัน เพราะเป็นรูปแบบที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งแบบเชิงรุกและแบบเชิงรับ

          3. แนวทางการนำรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปใช้ในการพัฒนาสังคมไทย ควรนำแนวคิดทฤษฎีการสื่อสาร SMCR ของ เดวิด เบอร์โล ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่ โดยเชื่อมโยงกับรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้แก่ ด้านนักเผยแผ่ ด้านเนื้อหาการเผยแผ่ ด้านช่องทางในการเผยแผ่ และด้านผู้รับการเผยแผ่

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com