กลยุทธ์การทำพลอยในจังหวัดจันทบุรีตามรูปแบบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 The Strategy for Gems Making in Chanthaburi Province According to Development Model, Thailand 4.0

ชลกานดาร์ นาคทิม, ศรีวรรณ ยอดนิล, วรวุฒิ เพ็งพันธ์

Abstract


การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิธีการเรียนรู้ของคนทำพลอยในจังหวัดจันทบุรี
2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการถ่ายทอดการทำพลอย 3) ศึกษากลยุทธ์การทำพลอยในจังหวัดจันทบุรีตามรูปแบบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มคนทำพลอย 43 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากผู้ประกอบอาชีพทำพลอยในปัจจุบันและต้องมีประสบการณ์การทำพลอยไม่น้อยกว่า 10 ปี ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนทำพลอย 7 คน วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า (1) วิธีการเรียนรู้ของคนทำพลอย เกิดจากความสนใจในความรู้การทำพลอย อยู่กับผู้รู้ ผู้ที่เป็นต้นแบบ เรียนรู้จากครอบครัวหรือจ้างผู้รู้สอน การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก ครูพักลักจำและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (2) แนวทางการส่งเสริมการถ่ายทอดการทำพลอย มิติด้านประวัติศาสตร์ ส่งเสริมพัฒนาพิพิธภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ มิติด้านการศึกษา โดยการศึกษาในระบบ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การศึกษานอกระบบ จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ที่มุ่งให้ความรู้กับคนกลุ่มต่าง ๆ และการศึกษาตามอัธยาศัย เปิดศูนย์การเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่เกี่ยวข้องกับการทำพลอย มิติด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมและการพัฒนาคุณภาพทักษะฝีมือการทำพลอย ให้เห็นคุณค่าในอาชีพ พัฒนาช่องทางการตลาดที่หลากหลายและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของร้านค้าพลอยรายย่อย เชื่อมโยงข้อมูลทุกระดับของกลุ่มทำพลอย มิติด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาสถานที่เกี่ยวข้องกับการทำพลอยเป็นแหล่งท่องเที่ยว (3) กลยุทธ์การทำพลอยในจังหวัดจันทบุรีตามรูปแบบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วยสี่กลยุทธ์ได้แก่ กลยุทธ์ส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาการทำพลอย มุ่งสู่อาชีพที่มั่นคง  กลยุทธ์การพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจคุณค่าการทำพลอย พร้อมยกระดับเครือข่ายกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพทางการตลาดของร้านค้าขนาดกลางและขนาดย่อมและกลยุทธ์การพัฒนาตลาดแนวใหม่ ที่เข้าถึงกระบวนการผลิตพลอยอย่างครบวงจร เพื่อสร้างความไว้วางใจและความภาคภูมิใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com