ความเชื่อและคติธรรมที่ปรากฏในประเพณีปีใหม่สงกรานต์ล้านนา

อนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ

Abstract


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความประวัติความเป็นมาของปีใหม่สงกรานต์    ๒) เพื่อศึกษาความเชื่อที่ปรากฏในประเพณีปีใหม่สงกรานต์ล้านนา ๓) เพื่อศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในประเพณีปีใหม่สงกรานต์ล้านนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจาก คัมภีร์พระไตรปิฎกและเอกสารตำราวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่น แล้วมาเสนอผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา 

          ผลการวิจัยพบว่า การนับวันขึ้นปีใหม่ของคนในอดีต อาศัยความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือการสังเกตจากการดูดวงดาว แล้วก็นึกเห็นเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ดาวไถ ดาวจระเข้ ดาวลูกไก่ ในบรรดาดาวเหล่านั้น มีอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในแนวสมมุติว่า เป็นวิถีที่พระอาทิตย์โคจร หรือผ่านเข้าไป มีรูปโค้งเป็นวงกลมคล้ายรูปไข่จากเหนือจรดใต้ เรียกว่าจักรราศี  จักรราศีแบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วนเรียกว่า “๑๒ ราศี” แต่ละราศีก็มีชื่อตามรูปที่นึกเห็น เมื่อพระอาทิตย์แรกผ่านเข้าไปในจุดของหมู่ดาวใด ก็เรียกว่า “สงกรานต์เดือน” ที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้าย" การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งเข้าไปอีกราศีหนึ่ง   แต่ในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายสู่ราศีเมษ ในเดือนเมษายน จะเรียกพิเศษว่า                      วันมหาสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาที่ตั้งต้นปีใหม่ เมื่อเดือนเมษายน หรือวันสงกรานต์มาถึง ชาวล้านนาต่างก็มีความเชื่อในเรื่องของ วันสังขานต์ล่อง ความเชื่อเกี่ยวกับการขนทรายเข้าวัด ความเชื่อเกี่ยวกับการรดน้ำดำหัว ความเชื่อเกี่ยวกับการส่งเคราะห์ และ            ความเชื่อ เกี่ยวกับการสืบชะตา (ชาตา) ความเชื่อเหล่านี้ ชาวล้านนาได้ยึดถือ และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เมื่อได้ศึกษาและสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่นแล้วพบว่า           มีคติธรรมหรือหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแอบแฝงอยู่ เช่น หลักไตรลักษณ์ หลักสัทธา หลักบุญกิริยาวัตถุ หลักสังคหวัตถุ และหลักกตัญญูกตเวที คติธรรมที่ปรากฏในประเพณีปีใหม่สงกรานต์ล้านนาเหล่านี้ ล้วนมีจุดประสงค์ ที่สอนให้ชาวล้านนา ได้ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนตลอดจนถึงสังคม และให้ถูกต้องตามจารีตประเพณีวัฒนธรรมในสังคมล้านนา

This research entitled ‘Beliefs and Buddhist Teaching appeared in the Lanna Songkran Festival tradition has three aims 1) to study the history of the Lanna Songkran Festival tradition, 2) to study beliefs appeared in the Lanna Songkran Festival tradition and   3) to study Buddhist Teaching appeared in the Lanna Songkran Festival tradition. This study was a qualitative research by collecting data from documentary appeared in Tipitaka scripture, text book concerning about this study and presented the data in from of descriptive writing.

The research findings were as the follows;

The counting the number of day of New year day of the people in pass time depended on the expertise about astronomy or observing from the star on the sky. When the people in the pass had seen these stars on the sky, they thought of the various pictures of those stars that one of these stars will be in the suppose level of the Sun way or pass into. This thing had symbol of curve that same the egg from the North to South by calling solar system. These solar systems have 12 parts by calling 12 dignities that each dignity had one group of the star. When the first of Sun passed in the point of some group, it was called the month of Songkran. Songkran means passing or move in because the period of the time from the Sun rise to the dignity until it had passed already and it come to the dignity again. It was one month and when it had passed around the dignity until finished 12 dignities. It means one year that hold our world for establishing the universal. It was not hold the Sun for establishing the universal.      

In term of the beliefs appeared in the Lanna Songkran Festival tradition consists of five aspects namely; 1) the belief in the pass of age, 2 )  the belief about the carrying sand come to the temple, 3 )  the belief in putting the holly water to the senior,  4 )  the belief about the exorcising the unfavourable  things from their life and 5 ) the belief about making the long life.

The Buddhist Teaching appeared in the Lanna Songkran Festival tradition were four aspects namely; 1) Tilakkhana, 2 ) Saddha, 3) Puññakiriyã-vatthu, 4) Sangahavatthu, and 5)  Kataññukatavedi, These Buddhist Teachings aimed to teach Lanna people to become the good member of families, communities and social according to tradition and culture in Lanna society. 


Keywords


ความเชื่อ, คติธรรม, ประเพณีปีใหม่สงกรานต์, ล้านนา

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.