ปะกำช้าง : ความเชื่อในพลังศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชาวไทยกูย ในจังหวัดสุรินทร์

ยโสธารา ศิริภาประภากร

Abstract


วิถีในการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ตลอดถึงการใช้ชีวิตของมนุษย์สามารถดำรงอยู่อยู่ร่วมกันได้อย่างดุลยภาพ ทั้งนี้อาจเกิดจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้มีการเรียนรู้ ศึกษา และสะสมประสบการณ์เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ที่ผ่านโดยประสบการณ์ ผ่านทางด้านศาสนา ลัทธิ ความเชื่อและพิธีกรรม จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษแต่อดีตนั้นเอง วัฒนธรรมจึงได้กลายมาเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์สืบทอดกันมา ในการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ ระบบความเชื่อและพิธีกรรมสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมทางความเชื่อได้อย่างชัดเจนที่เป็นตัวบ่งถึงแต่ละสังคม มีวงจร ระบบโครงสร้างแบบใด มีการอิงอาศัยบางอย่างเป็นสัญลักษณ์ในการนับถือ สักการะ บูชา และให้ความเคารพนับถือ ยกย่องว่าเป็นสิ่งมงคล หายาก ใครมีไว้ครอบครองยอมนำมาซึ่งความโชคดี รุ่งเรือง อำนาจวาสนาบารมีตามคติความเชื่อที่มีอยู่ในมนุษย์ นั้นคือ ช้าง เป็นสัตว์สำคัญ ถือได้ว่าเป็นสัตว์มงคล มีอำนาจ และทรงพลังสูง ช้างได้ปรากฏในพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึง พญาช้างปาริไลยกะ เป็นช้างที่มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า

Culture was a transferred behavior of human. The way of life, living, belief system and ceremony were obviously reflection of culture and belief image. The social structure was shown from those expressions. Some symbol was used to show respect, ritual, worship and praise as a rare auspicious object. it will bring good fortune and prosperity to whoever possessed. Human have believed in elephant as an auspicious and powerful animal. In Buddhism, there were auspicious elephants named Great Elephant Palilaika and Phraya Sawat Khunchorn. Thai-Kui people respect and worship even elephant parts such as Pa Kam Chang (rope). This part of elephant was highly respected as auspicious object to give them good or penalty.  

Thai-Kui people valued elephant as their own ancestor. This strong belief originated Pa Kam Chang ritual. Thai-Kui people included young generation will be gathering in this important ceremony and also decoy elephant ceremony. This great ceremony was believed as a holy ritual. This culture was transferred to their generation nowadays presented in annual Pa Kum Chang ritual which is a local culture of Thai-Kui in Surin Provinceปะกำช้าง, พลังศักดิ์สิทธิ์, ชาวไทยกูย, จังหวัดสุรินทร์. 


Keywords


ปะกำช้าง, พลังศักดิ์สิทธิ์, ชาวไทยกูย, จังหวัดสุรินทร์

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.