ศึกษาเปรียบเทียบการเจริญสติตามทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ กับพระมหาสีสยาดอ

สาระปัญญา มหาปุญฺโญ

Abstract


การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบการเจริญสติตามทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุกับพระมหาสีสยาดอ” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสติตามหลักของพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการเจริญสติตามทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุกับพระมหาสีสยาดอและ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญสติตามทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุกับพระมหาสีสยาดอการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า

          1) สติตามความหมายในทางพุทธศาสนา แปลว่า ความระลึกได้,นึกได้,ความไม่เผลอ,การคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือการปฏิบัตินั่นเองสติเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติในทางพุทธศาสนาเพื่อการบรรลุถึงจุดหมายในการดับทุกข์คือ พระนิพพาน จากการศึกษาในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พบว่าหลักสติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหมวดธรรมต่างๆ มีเป็นจำนวนมาก แต่จะกล่าวถึงในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ และพบว่า สติ ยังมีความสัมพันธ์กับองค์ธรรมอื่น โดยการนำไปใช้ตีความหมายเปรียบเทียบ หรือทำหน้าที่ประกอบร่วมกับองค์ธรรมอื่น

          2) การเจริญสติตามทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ พบว่า สติ คือ การแล่นไปมาแห่งความคิดที่ต้องแล่นไปพร้อมกับความรู้ซึ่งเกิดจากการศึกษาคือ ปัญญา ความจำ ความระลึกได้ สติ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงนั้น เป็นการตีความหมายในการนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต คือให้มีสติความระลึกได้ เป็นแนวการฝึกสติเบื้องต้น โดยการมีสติกำหนดรู้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติที่เรียกว่าอนิจจัง ความไม่เที่ยงจนถึงการดับไปแห่งทุกข์ คือเป้าหมายสูงสุดในการนำไปสู่มรรคผลและนิพพาน ส่วนการเจริญสติตามทัศนะของพระมหาสีสยาดอ พบว่า พระมหาสีสยาดอนั้นได้เน้นการใช้หลักสติ สำหรับการปฏิบัติอย่างจำเพาะเจาะจง เน้นตีความหมายจากพระไตรปิฎก โดยเฉพาะมหาสติปัฏฐานสูตร อรรถกถา และพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมโดยสตินั้นจะเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดรู้ การระลึกรู้ ตามสภาวธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสติปัฏฐาน 4 คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้การเจริญวิปัสสนานั้นบรรลุผลขั้นสูง และมีปัญญาหยั่งถึงความจริงของชีวิต คือการดับทุกข์ และเข้าถึงพระนิพพาน

          3) ผู้วิจัยทำการเปรียบเทียบการเจริญสติตามทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุกับพระมหาสีสยาดอ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ (1) เปรียบเทียบด้านความหมายและความสำคัญ พบว่า มีข้อสรุปเหมือนกัน ในความหมายที่ว่า สติ แปลว่าแล่น และการระลึกรู้ (2) เปรียบเทียบด้านการเจริญสติ พบว่ามีข้อสรุปแตกต่างกัน การเจริญสติในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุเน้นอานาปานสติ คือ การกำหนดลมหายใจเข้า-ออกในการกำหนดสภาวธรรม พระมหาสีสยาดอเน้นการเจริญสติตามสติปัฏฐาน 4 คือการพิจารณากำหนดรู้ธรรม 4 หมวด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม (3) เปรียบเทียบด้านรูปแบบการเจริญสติพบว่า มีข้อสรุปเหมือนกันเพราะยึดแนวปฏิบัติตามพระไตรปิฎก แต่อธิบายในพระสูตรต่างกัน คือ อานาปานสติและมหาสติปัฏฐานสูตร ในการนั่งและอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย (4)เปรียบเทียบจุดมุ่งหมายของการเจริญสติพบว่า สอดคล้องกัน คือมีการใช้หลักสติในการปฏิบัติทุกกิจกรรมในการดำเนินชีวิต ให้มีสติอยู่ในปัจจุบันขณะ เพื่อขจัดกิเลสให้หมดไปทำให้สามารถเข้าถึงธรรมได้ทั้งในระดับโลกิยะและโลกุตตระ กล่าวโดยสรุป ทัศนะเรื่องการเจริญสติของท่านพุทธทาสภิกขุและพระมหาสีสยาดอนั้นมีความสอดคล้องกันเกือบทุกด้าน มีแตกต่างกันในด้านของหลักพุทธธรรมที่มีความสัมพันธ์กับสติและมีแตกต่างในรายละเอียดแยกเฉพาะพระสูตรที่นำมาอธิบาย แต่ก็ยังคงใจความสำคัญไว้ครบถ้วนและจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ ผลของการเจริญสติหรือการฝึกสตินั้นทำให้เกิดความเป็นปกติ (ศีล) ความตั้งมั่น (สมาธิ) และเกิดปัญญาเห็นความจริงว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดาจึงเกิดการปล่อยวางและหลุดพ้นจากทุกข์ได้ในที่สุด

 The purposes of this research aims to 1) study the concept of mindfulness in the Buddhist principles 2) to study the cultivation mindfulness in BuddhadasBHikku and MahaSrisayadaw’s veiw and 3) to comparative study of the cultivation mindfulness in to BuddhadasaBhikkhu and MahaSrisayadaw’s view. This work is documentary research.The results are found as follows :

1)The meaning of mindfulness or Sati in Buddhism means recalling, remembering, not to be absent-minded, holding on one’s heart with the mission or controlling it with the practice per se. Mindfulness is very importaht in Buddhist Practice which is supreme cause leading to the ultimate goal of completely extinguishing the suffering i.e. NIbbana. From the study in the PhraVinayaPitaka , Phra SuttantaPitaka, and Phra AbidhammaPitaka scripture, it was found that there were considerable amount of mindfulness concepts in various groups of Dhammas preached by The Lord Buddha, but mostly they were specifically focused on practice. In addition, mindfulness have been related with other Dhammaprinciple which were taken to be comparatively interpreted or combined with other groups of Dhammas, or even integrated with certain Dhammas bodies.

2)The study the cultivation mindfulness in BuddhadasaBhikku’s view, it was found that mindfulness was moving from and back of thoughts accompanying with knowledge derived from studying which included wisdom and memory or remembering. Mindfulness, as mentioned by Buddhadasa Bhikkhu, was an interpretation in terms of applying in the preliminary principles of practice in order to be the guideline in living one’s life, i.e. to be able to remembering or recalling things which means one possesses the state of consciousness or mindfulness. This is the preliminary step of practicing mindfulness which can be applied in general, but there are higher step which needs more other auxiliary Dhammas  bodies,namely Hiri, or being ashamed to doing sins and Ottappa or being  afraid to doing sins and Ottappa or being afraid to doing sins. For the ultimate goal of exerting mindfulness in Buddhadasa Bhikku’s view, it was the occupation of mindfulness to clearly know and see the natural truth being called Anijjang, or uncertainty along with the extinguishment of suffering which all lead to the ultimate goal paving the way to Nibbana path. In the part of the study of mindfulness in view of Maha Srisayadaw, it was found that Maha Srisayadaw emphasized to use of mindfulness specifically for practicing and focused on the use the principle of mindfulness appeared in the Tripitaka, especially in Maha Satipatthanasutra, Atthakatha and other Phrasutra which were concerned the Dhamma practice. Accordingly, mindfulness  serves as the determiner of knowing, recalling and other Dhamma states which are taken place in Satipatthana Four , namely Kayanupassanasatipatthana, Vedana nupassanasatipatthana, Cittanupassanastipat thana and Dhammanupassana satipatthana.

These principle will take place and make duty the dhamma body for doing vipassana and enlightening in highersteps until finding out the existing truth of life as well as extinguishing the suffering, i.e. the supreme Nibbana.

3) The result of the comparison of the cultivation mindfulness in Buddhadasa Bhikku and MahaSrisayadaw’s view that it can be divided into four aspects as follows :

1) Comparison in terms of meaning and importance, it was found that the two persons had same conclusion namely mindfulness means moving and recalling  

2)comparison in term of cultivation mindfulness, it was found that BuddhadasaBhikkhu’s view had emphasized Anapanasati namely consideration the wind by bret in and bret out on making concentration , in part of MahaSrisayadaw’s view had emphasized the four satipatthana namely consideration the making awearness dharma on 4 sectors as follows kayanupassana, Vedananupassana, Cittanupassana, Dhammanupassana

3)comparison in term of cultivation mindfulness’s model it was found that it had simitary of rultivation mindfulness’s model because of they were used that practicing’s model in Tripitakata but they were explained in different sutra namely Anapanasati  and Mahastioatthana Suttra as sitting and big movement, sub-movement and 4)comparison in term of objective of cultivation mindfulness it was found that it has mached together namely they had using the mindfulness for practicing in every activity, for life study and had mindfulness in the current time. It  also had destroyed the craving until futher know Dhamma both lokiya level and lokuttara level. In conclusion,for studying the cultivation mindfulness in BuddhadasaBhikku and MahaSrisayadaw’s view, it revealed that they were corresponding in virtually every however, it had has difference in Dhamma concepts which related with mindfulness and details by separated Phrasutras being described but they were still contain the whole gist inside.It can be concluded that the interpretation and the explanation of cultivation mindfulness in Buddhadasa Bhikku and MahaSrisayadaw’s view has the same goal, i.e the ultimate outcome of mindfulness development of practicing in order to attain the common state of being normal (Sila) and establishment or concentration (Smadhi)  and finally achieved the enlightenment to see the existing truth that every single thing occurs, stays and degrades as normal, and then entering into state of non-adherence and eventually extricating out from the sufferings.


Keywords


ศึกษาเปรียบเทียบ, การเจริญสติ, พุทธทาสภิกขุ, พระมหาสีสยาดอ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.