การพัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (DEVELOPMENT OF EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE PROCESS IN SCHOOL UNDER THE OFFICE OF PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA)
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑, ๒) พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต ๑ และ ๓) นำเสนอกระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research -PAR) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เลือกโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก สัมภาษณ์เฉพาะผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา และครูรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน ๖ โรงเรียน ๆ ละ ๓ คน รวม ๑๘ คน ด้วยการเลือกเจาะจง (Purposive Selection) เก็บข้อมูลปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จากโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน ๓ โรงเรียน ๆ ละ ๓ คน รวมจำนวน ๙ คน ด้วยการเลือกเจาะจง (Purposive Selection) เก็บข้อมูลเชิงประมาณโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน ๒๙๗ ชุด
ผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑ แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน ๔ มาตรฐาน คือ
๑.๑) ด้านความเหมาะสม โดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นมาตรฐานพบว่า มาตรฐานที่ ๔ ระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล อยู่ในระดับมากที่สุด มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด และมาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ ๔ ระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
๑.๒) ด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นมาตรฐานพบว่า และมาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน และมาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒. พัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียนต้องมีร่างกายแข็งแรง นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา
มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานที่ ๒ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มาตรฐานที่ ๓
มีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม มาตรฐานที่ ๔ มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษามุ่นเน้นคุณภาพตามมาตรฐาน
๓. นำเสนอกระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑ ผู้บริหารควรปฏิบัติงานด้วยความสมัครใจและมุ่งหวังในผลสำเร็จของงานเหนือสิ่งอื่นใด ปฏิบัติงานด้วยความชื่นชอบมุ่งหวังให้ผลงานที่ได้รับบรรลุตามจุดมุ่งหมาย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปี โครงการ กิจกรรม ตลอดจนการกำกับ ติดตาม และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องควรนำผลการประเมินมาสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานที่เกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย และนำผลการประเมินไปใช้ในการกำกับติดตาม และควบคุมการดำเนินงาน
Abstract
The main objectives of the research article were 1) to study the problem of Internal Education Quality Assurance under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, (2) to develop the process of Internal Education Quality Assurance under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1 and (3) to present the process of Internal Education Quality Assurance under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1.
This research methodology was a mixed methods research by using both the qualitative research, participatory action research and quantitative research. The qualitative research was conducted by in-dept interview from the key informants from the big medium and small school were the director, head of Education Quality Assurance and teacher on six schools each school 3 person conclusion 18 persons by purposive selection. The data collection by participatory action research from the big medium and small school were 9 persons and the quantitative used questionneirs were 2971 papers.
The findings were conducted as follows:
1. The contexts of the problem of Internal Education Quality Assurance under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1 were divided into 2 aspects and 4 standards. 1) The overall average of suitable aspect was at highest level and when considered from the high to low the standard founding found that the first standard (the Quality of learners), the second standard (the process of management of administrators) was at highest level and the third standard (the process of learning and teaching which focused the students) getting and the fourth standard (the system of Internal Education Quality Assurance of effectiveness) getting was at high level. The possible factor got at highest level if we considered it into aspects founding that the fourth standard (the system of Internal Education Quality Assurance of effectiveness) got was at highest level and the second standard (the process of management of administrators) getting was at high level and the third standard (the process of learning and teaching which focused the students) getting at high level.
2. Process Development of Internal Education Quality Assurance under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1 was divided into 4 standards which the first standard, the students had healthiness, analyzing thought, discussion and exchanging the knowledge and knowing how to use information and communication technology. The second standard, controlling the administrational measurement and educational management, planning and developing the teachers and the staffs to be the professional, the third standard, there was the process of learning and teaching and gave the opportunity to all students to participate and the fourth standard had setting the standard of school and planning the developing the educational management to standard quality.
3. Presenting the process of Internal Education Quality Assurance under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, the administrators should manage the school happily and work for success, making plan for developing the educational quality, controlling the plan and activity and making the plan to succeed as following the objective.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.