กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (STRATEGY BUDDHIST CHANGE AGENT LEADERSHIP DEVELOPMENT FOR ADMINISTRATORS IN PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOLS GENERAL EDUCATION DIVISION)
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคกลาง กลุ่มที่ ๑ (๒) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคกลาง กลุ่มที่ ๑ (๓) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคกลาง กลุ่มที่ ๑
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบเบื้องต้น ก่อนที่จะนำเสนอต่อเวทีสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) เพื่อพัฒนารูปแบบให้มีความสมบูรณ์ขึ้น การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และนำเสนอต่อประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เพื่อหาข้อสรุปในผลงานวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคกลาง กลุ่มที่ ๑ ได้ตัวแปรที่สำคัญ ๔๐ ตัวแปร รวม ๔ ด้าน คือ (๑) ด้านวิสัยทัศน์ ได้ค่าเฉลี่ย ๔.๓๘ มีความสำคัญที่ผู้นำควรสร้างวิสัยทัศน์ในองค์กรรวมถึงการมีเจตคติที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และความรู้ความสามารถ (๒) ด้านความชำนาญ ได้ค่าเฉลี่ย ๔.๔๘ มีความสำคัญที่ผู้นำควรมีความหมั่นเพียรในการฝึกฝนการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพของการทำงาน (๓) ด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้ค่าเฉลี่ย ๔.๔๑ มีความสำคัญที่ผู้นำควรมีความสุภาพ อ่อนโยน เอาใจใส่บุคลากร ที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และ (๔) ด้านคุณธรรม ได้ค่าเฉลี่ย ๔.๔๓ มีความสำคัญที่ผู้นำควรส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้พัฒนาตนเอง โดยใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ในการบริหารจัดการ และผู้นำควรมีความใส่ใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในการบริหาร ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
๒. พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคกลาง กลุ่มที่ ๑ ผู้บริหารต้องมีแนวคิดใหม่ ๆ วิสัยทัศน์กว้างไกล มีแนวคิดในอนาคต วิเคราะห์และกำหนดทิศทาง กล้าตัดสินใจ มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการวางแผน มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถ ส่งเสริมการศึกษา มีทัศนคติต่องานที่ดี มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ต้องทำให้สำเร็จยึดหลักพรหมวิหารธรรม ๑
๓. เสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคกกลาง กลุ่มที่ ๑ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์การสอนและประสบการณ์ด้านการวิจัย มีความสามารถในการบริหารจัดการ และต้องมีทัศนคติต่อการเป็นผู้นำ ต้องมีบุคลิกภาพดี เป็นคนจริงใจ มีการวางตัวเหมาะสม มีความสามารถ มีสติปัญญาดี มีการตัดสินใจดี สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีทักษะทางสังคม และต้องเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่มีความสุภาพ อ่อนโยน เอาใจใส่บุคลากรที่ปฏิบัติงาน มีความกระตือรือร้น พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำที่ถูกต้อง และหมั่นตรวจสอบข้อบกพร่อง
Abstract
The main objectives of the research were 1) to study the condition of Buddhist change agent leadership for administrators in Phapariyattidhamma Schools general education division group I, 2) to develop strategy Buddhist change agent leadership development for administrators in Phapariyattidhamma Schools general education division group I and 3) to present the strategy Buddhist change agent leadership for administrators in Phapariyattidhamma Schools general education division group I.
This work was mixed methods researches by used both the qualitative research and quantitative research. The qualitative research was conducted by in-depth interview from the key informants and used the focus group discussion for developing the completed model. For the quantitative research were used both questionnaires and public hearing for finding research conclusion.
The findings were conducted as follows:
1. The condition of Buddhist change agent leadership for administrations in Phapariyattidhamma Schools general education division group I had 40 variations which consisted of 4 important factors, were found that (1) vision factors (Cakkhuma) got 4.38 pointing that the administrators must have vision and ability for position (2) skillfulness factors (Vidhuro) got 4.48 pointing that the administrators must have an activeness of training of new work and develop the quality of work (3) relationship factors (Nissayasampanno) got 4.41 pointing that the administrators must have cavity, concentration, intention sociability, good emotional management, friendliness, helpfulness, admiration, expression and working relationship and (4) moral factor (Brahmavihara 4) got 4.43 pointing the administrator must support and help the staff to solve the problem and decide with reason and attend to the problem and the obstacle of organization honestly.
2. Developing strategy Buddhist change agent leadership development for administrators in Phapariyattidhamma Schools general education division group I, were found that the administrators had to had the vision, analyzing the strategy, reasonable making a decision, creativity, supporting more education, working with the Dhammas consisting of loving-kindness, compassion, sympathetic joy, equanimity.
3. Presenting the strategy Buddhist change agent leadership development for administrators in Phapariyattidhamma Schools general education division group I, were found that the administrators should has vision and experience of teaching and research, ability of organization, honesty, consult with right answer and compactness and hearing other opinion and taking care all the staff.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.