แนวทางการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ ให้มีประสิทธิผล (EDUCATIONAL MANAGEMENT GUIDELINES OF AGRICULTURAL AND TECHNOLOGY COLLEGES FOR NORTHERN INSTITUTE OF VOCATIONAL EDUCATION IN AGRICULTURE TO BE EFFECTIVE)

Jitlada Chailert

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษา ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษา และเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี  สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในเชิงคุณภาพทำการเก็บข้อมูลจากเอกสารการประเมินตนเองและสัมภาษณ์ตัวแทนผู้บริหารและครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ SWOT ในเชิงปริมาณทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๕๕๘ ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างและใช้เทคนิคเดลฟายในการหาฉันทามติของกลยุทธ์การจัดการศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

          ๑. สภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในด้านการผลิตนักศึกษา การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ และการบริหารจัดการ พบว่ามีจุดแข็งได้แก่ นักศึกษาที่จบการศึกษามีทักษะทางวิชาชีพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี ครูมีความรู้และจรรยาบรรณในสาขาวิชาชีพของตนเอง สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและประชาคมอาเซียน และการบริหารเป็นไปตามหลักการบริหารองค์กรและยึดถือระเบียบปฏิบัติของทางราชการเป็นสำคัญ ส่วนจุดอ่อนได้แก่ นักศึกษาขาดทักษะทางด้านภาษาและมีปัญหาการออกระหว่างภาคเรียน ครูยึดติดกับการเรียนการสอนและเนื้อหาการสอนแบบเดิมๆ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนไม่ทันสมัย เก่า งบประมาณไม่เพียงพอ และในแต่ละสถานศึกษาไม่มีจุดเด่นเป็นของตนเอง

          ๒. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษา ได้แก่  ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยด้านการสื่อสารองค์การ โดยรูปแบบความสัมพันธ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่าไคสแควร์ (chi-square) เท่ากับ ๗๘.๕๒ ที่องศาอิสระ (degree of freedom) เท่ากับ ๙๘ ที่ระดับนัยสำคัญ (p-value) เท่ากับ ๐.๙๒๖๑๕ ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA) เท่ากับ .๐๐๐ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) เท่ากับ .๙๘ และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI) เท่ากับ .๙๕

          ๓. แนวทางการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ  แบ่งเป็น ๔ กลยุทธ์หลัก ๒๙ กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ ๑. มุ่งพัฒนาการผลิตนักศึกษาให้สัมพันธ์กับความต้องการของตลาดแรงงานในประชาคมอาเซียน กลยุทธ์หลักที่ ๒. พัฒนาปริมาณและคุณภาพของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษา กลยุทธ์หลักที่ ๓. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ และกลยุทธ์หลักที่ ๔. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ

Abstract

          The purposes of this research were to study the condition of educational management, key factors that had important influence role towards educational management effectiveness and to suggest Educational Management of Agriculture and Technology Colleges. It used mixed methods research both qualitative and quantitative research. In qualitative, data were collected from self-assessment report (SAR) documents and interviews with administrators and teachers, analyze data used content analysis and SWOT analysis. In quantitative, data were collected from the sample by cluster random sampling amount 558 samples, analyze data used structural equation model (SEM) and Delphi technique for finding the consensus of educational management strategies. The research showed that;

          1. The contexts of educational management of Agriculture and Technology College, in the field of student production, development
of teachers and educational personnel were found that development
of educational institutions and learning resources, and management. There were strong points, graduated students had good skills and desirable characteristics, teachers had knowledge and professional ethics, the school had developed curriculum with establishments to meet the needs of the labor market and the ASEAN community, and management was in accordance with the principles of corporate governance and the government’s guidelines were important. The weakness were, students lack language skills and out during semester, teacher attaches to the teaching and the traditional teaching content, equipment and teaching materials were not modern, old, budget was not enough, and each school had its own unique character.

          2. Influence Factors the effectiveness of educational management were found that there were the leadership of the executives factors, organizational culture factors, information technology factor, and organizational communication factors. The relationship of structural equation model was consistent with the empirical data by Chi-Square was 78.52 at the Degree of Freedom was 98, p-value was 0.92615, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was .000, Goodness of Fit Index (GFI) was .98 and Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) was .95

          3. The Educational Management Guidelines were divided into 4 main strategies 29 secondary strategy, main strategy 1 : aims to develop student production in relation to the needs of the labor market in the ASEAN community, Main strategy 2 : Improve the quality and quantity of teachers and educational personnel in vocational education, Main strategy  3 : Develop quality of education and learning resources, and Main strategy 4 : Improve management quality


Keywords


การจัดการศึกษา, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี, ประสิทธิผล

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.