การต่อต้านทุจริตตามแนวพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาในจังหวัดแพร่ (ANTI-CORRUPTION ACCORDING TO BUDDHISM : A CASE STUDY IN PHRAE PROVINCE)

Uten Laping, Sayan Innunjai, Ponsavon Sukmaitri, Jiraput Na sritha

Abstract


บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการต่อต้านการทุจริตในบริบททั่วไป (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดการต่อต้านการทุจริตตามแนวทางพระพุทธศาสนาและ (๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการต่อต้านการทุจริตตามแนวทางพระพุทธศาสนา

           จากการวิจัยพบว่า การทุจริตในบริบททั่วไปนั้น หมายรวมถึงการฉ้อราษฎร์ บังหลวง และการคอร์รัปชั่น หมายถึง การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ การประพฤติปฏิบัติคดโกง การเบียดบังทรัพย์ของหลวงมาเป็นของตน และการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรมด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นมีอยู่ ๔ ด้านคือ (๑) ด้านเศรษฐกิจและการครองชีพ (๒) ด้านระบบบริหารราชการ (๓) ด้านสังคมวัฒนธรรมและ ศีลธรรมและ (๔) ด้านกฎหมายและวิธีพิจารณา เมื่อเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นแล้ว จะมีสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นหลักรวมทั้งองค์กรอื่น ๆ ในการทำหน้าที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามออำนาจหน้าที่ขององค์กรนั้น ๆ

           การต่อต้านทุจริตตามแนวทางพระพุทธศาสนานั้น พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการทุจริต สาเหตุเกิดมาจาก (๑) โลภะ ความโลภที่ไม่รู้จักพอ ทั้งความโลภเชิงวัตถุนิยม และความโลภทางสังคม (๑) อทินนาทาน การถือเอาสิ่งของของผู้อื่นไป ด้วยอาการแห่งการขโมย สิ่งของ ทั้งการลักทรัพย์ การฉ้อโกง การยักยอก การเลี่ยงภาษี และการสับเปลี่ยน (๓) วิหิงสา ความนึกคิดเบียดเบียนในทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

           วิเคราะห์แนวคิดการต่อต้านการทุจริตตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเตือนสติให้ละเว้นจากพฤติกรรมทุจริตทั้งหลาย ได้แก่ (๑) ทาน การให้ เพราะเป็นการละเว้นความเห็นแก่ตัว (๒) สันโดษ ความยินดี พอใจ ความรู้จัก พอเพียงในสิ่งที่ตนมี (๓) สัมมาอาชีวะ การละเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ประกอบแต่การงานที่สุจริต (๔) หิริโอตตัปปะ ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปทุจริตทั้งปวง (๕) อวิหิงสา การไม่ เบียดเบียน การไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน (๖) เมตตา ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นให้มีความสุข เป็นการป้องกันเฉพาะในส่วนของบุคคลที่จะช่วยยับยั้งชั่งใจในการที่จะคิดทำทุจริตต่าง ๆ โดยมีหลักสันโดษ และหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล

ABSTRACT

           This research is of the three objectives, i.e., (1) to study anti-corruption in the context of general field, (2) to study the anti-corruption according to Buddhism, and (3) to analyses the anti-corruption according to Buddhism.

            Results of the research are as followings: the corruption in the context of general field covers the peculation from the people and also from the state, while corruption indicates misconduct to the duty as well as seeking to gain whatever money or objects by way of illegal and unlawful actions.

           Mostly, causes of corruption occurs due to (1) economic and living costs, (2) official system, (3) social, cultural and ethical aspects, and (4) legal or criminal enquiry. Against such incidents, OPCT and some other organizations are assigned to charge according to their functions.

           As regards to Buddhism, the causes of corruption or bad conduct are due to (1) greed or covetousness rooted from insufficient contentment, (2) stealing or taking what is not given, (3) cruel thought causing himself and others to suffering.

           Buddhist teachings which are to be applied to prevent bad action and corruption areas; (1) giving or charity to keep himself from covetousness and selfishness (2) contentment or satisfaction with whatever is one’s own, (3) right livelihood or right means of pursuits, (4) hiri-ottappa is moral shame and moral dread to all evil conduct and bad actions, (5) non-violence or inoffensiveness, and (6) loving kindness, friendliness or good will.

           In the conclusive concept to analyses the anti-corruption according to Buddhism. , it is that Buddhist teachings provide the way to prevent any cause of bad actions before the deed even in the state of bad thought.


Keywords


Anti-corruption, Buddhism

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.