ศึกษาศักยภาพ : ตามองค์ประกอบของการท่องเที่ยว สำหรับเส้นทางจักรยานเมืองชายแดน ในเขตล้านนาตะวันออก (POTENTIAL AND ELEMENTS OF BICYCLE TOURISM IN EASTERN LANNA)
Abstract
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้ เป็นการนำเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ ของงานวิจัย เรื่อง รูปแบบ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวจักรยานเมืองชายแดน ล้านนาตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของการท่องเที่ยว สำหรับเส้นทางจักรยานเมืองชายแดน ในเขตล้านนาตะวันออก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Reseach Method) ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคบริการ ในเขตพื้นที่ ๓ จังหวัด ได้แก่ พะเยา น่าน เชียงราย จำนวน ๑๐๐ คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมจักรยาน ในเขตพื้นที่ ๓ จังหวัด ได้แก่ พะเยา น่าน เชียงราย จำนวน ๒๐ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ๑) อุปกรณ์การลงพื้นที่ ได้แก่ สมุดบันทึก กล้องถ่ายภาพ เครื่องบันทึกเสียง ๒) แบบสอบถามสำหรับผู้ประกอบการ ๓) แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ภาครัฐ สมาคมธุรกิจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation-SD) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพตามองค์ประกอบของการท่องเที่ยว สำหรับเส้นทางจักรยาน เมืองชายแดน ในเขตล้านนาตะวันออก มีอยู่ ๗ ด้าน หรือเรียกโดยย่อว่า หลัก 5ASM ได้แก่ ๑) ด้านสิ่งที่ดึงดูดใจ (Attraction) ภูเขา น้ำตก แม่น้ำ ดอย ๒) ด้านการเข้าถึง (Accessibility) ความสะดวกในการเดินทาง การให้บริการด้านการท่องเที่ยวและการขนส่ง การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สะดวกสบาย มีการเชื่อมต่อทางระบบขนส่งอย่างต่อเนื่อง ๓) ที่พัก (Accommodation) การให้บริการด้านที่พัก ๔) ด้านบริการและความสะดวกสบาย (Amenity) สิ่งอำนวยความสะดวก ร้านค้าของที่ระลึก การให้บริการด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม สิ่งดึงดูดการท่องเที่ยวด้านความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ ๕) กิจกรรม (Activity) การให้บริการเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยวและสันทนาการ ๖) ความปลอดภัย (Safety) กฎระเบียบ ป้ายบอกทาง และ ๗) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวจักรยาน (Management) การมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการในชุมชน และจากการประเมิน พบว่า ผลการประเมินศักยภาพตามองค์ประกอบของ การท่องเที่ยว สำหรับเส้นทางจักรยานเมืองชายแดน ในเขตล้านนาตะวันออก มีศักยภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
This article aimed to present the research results according to the first objective of the study; to study the tourist potential and tourist composition for the bicycle path of Lanna Eastern part frontier by using mixed method research both quantitative and qualitative research method. For the quantitative research method, the data were collected from 100 subjects consisted of people who related to the service business in 3 areas; Phayao province, Nan province, and Chiangrai province. According to the qualitative research method, the data were collected by documentary analysis and interviewing 20 people who were in the bicycle society in the area of 3 provinces; Phayao province, Chiangrai province, and Nan province.
The research instruments were 1. The instruments for data collection consisted of notebook, camera, and recording device 2. The questionnaires for the business owners 3. The interview questions for interviewing the business association. The data were analyzed by using mean, standard deviation and content analysis.
The results revealed as follows;
The potential according to the tourist composition for bicycle path of Lanna’s Eastern part frontier was divided in to 7 aspects or 5ASM principles; 1. Attraction consisted of mountains, waterfalls, and rivers 2. Accessibility consisted of the travel facilities, tourist services and transportation. The tourist accessibility and the connection of transportation system were included. 3. Accommodation 4. Amenity such as facilities, souvenir shops, food and drink service as well as the modern technology attraction 5. Activities consisted of tourist activity services and tourist creation 6. Safety consisted of rules and guide posts and 7. Bicycle tourist management consisted of the cooperation of community administration and management. According to the evaluation, the results revealed that the evaluation results were at the highest level.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.