การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๑ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ (FACTORS AFFECTING LEARNING ENQUIRY BEHAVIOR OF BACHELOR'S DEGREE IN THE FACULTY OF ENGINEERING)

Parichat Buacharoen, Noparat Techapunratanakul, Pawanrat Buochareon

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใฝ่รู้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปี่ที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น 926 คน ประกอบด้วย 4 สาขาวิชาดังนี้ วิศวกรรมเครื่องกล  วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมอุตสาหการ โดยมีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) จำนวน  286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการใฝ่รู้และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) โดยใช้สูตรของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยแบบพหุแบบปกติ (Multiple Regression Analysis) พบว่า

          1. พฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ มีระดับความเป็นจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการใฝ่รู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถ้าจำแนกตามสาขาพบว่า นักศึกษาทุกสาขามีระดับความเป็นจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการใฝ่รู้ อยู่ในระดับมาก ยกเว้นสาขาวิศวกรรมเครื่องกล มีระดับความเป็นจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการใฝ่รู้ อยู่ในระดับปานกลาง

          2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ปัจจัยด้านการสนับสนุนด้านหลักสูตรและการสอน การสนับสนุนด้านครอบครัว และด้านทรัพยากรการเรียน มีระดับความเป็นจริงเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ในภาพรวม และจำแนกตามสาขาอยู่ในระดับมาก   

          3. ปัจจัยการสนับสนุนด้านหลักสูตรและการสอน การสนับสนุนด้านครอบครัว และทรัพยากรการเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษา คือ หลักสูตรและการสอน การสนับสนุนด้านครอบครัว และทรัพยากรการเรียน ได้เข้ามาส่งผล ต่อตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษา ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ตัว กระทำร่วมกัน ทำให้ค่าสหสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นเป็น .889 (R) และสามารถอธิบายถึงระดับที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ของนักศึกษา ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 79.10

Abstract

          The research aimed to study learning enquiry behavior, factors affecting learning inquiry behavior, and factors related to learning inquiry behavior of 926 first-year engineering students from faculty of Engineering at Rajamangala University of Technology Lanna Chiangmai, first semester academic year 2018. The engineering students were from Mechanical engineering, Electrical engineering, Civil and Environmental engineering, and Industrial engineering. Multistage Sampling has been used to determine the sampling from 286 students.

          The instrument had used in this research as questionnaire about learning inquiry behavior and factors affecting learning enquiry behavior. This questionnaire had used rating scale and statistical data analysis including mean score, standard deviation (SD), Pearson Moment Correlation Coefficient, and Mutiple Regression analysis.

          The results had shown that:

          1. The learning inquiry behavior of first-year engineering students from faculty of Engineering at Rajamangala University of Technology Lanna Chiangmai had certain level about learning inquiry behavior at high level. All first-year Engineering students were at high level, except Mechanical engineering students were at medium level.

          2. Factors affecting learning inquiry behavior, consist of the support of curriculum and instruction, family support, and learning resources were at high level overall.

          3. Factors supporting of curriculum and instruction, family support, and learning resources had positive relation with learning inquiry behavior significantly difference at .05. Moreover, factors that mentioned above lead to independent variable which was learning inquiry behavior had concurred by those three factors. Consequently, the correlation coefficient had increased to .889 (R), and had affected to learning inquiry behavior at 79.10 percentage increasingly.    




Keywords


Factors Influencing, learning enquiry behavior

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.