การวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับรูปแบบการสอนที่ใช้ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์เป็นฐานที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย (META-ANALYSIS OF TEACHING MODEL BASED-ON EDUCATIONAL NEUROSCIENCE INFLUENCING ON SCIENCE LEARNING OUTCOMES IN THAILAND)

Sanit Srikoon

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของรูปแบบการสอนที่ใช้ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์เป็นฐานที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย (2) เพื่อหาค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการสอนที่ใช้ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์เป็นฐานที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ประชากรในการวิจัย คือ งานวิจัยในประเทศไทยที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการสอนที่ใช้ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์เป็นฐานในช่วงปี พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2007-2016) โดยดำเนินการวิจัยกับผู้เรียนที่มีสุขภาวะปกติ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยงานวิจัยในกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยคัดเลือกมาเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 3 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ได้แก่ (1) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย  (2) แบบสรุปรายงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ และค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า ค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 1.85 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.81

 

 

Abstract

          The purpose of research were (1) to synthesize research on the general status of research in teaching model based on educational neuroscience (2) to synthesize effect sizes of teaching model based on educational neuroscience affecting on learners' science learning outcomes. The research population is research about teaching model based on educational neuroscience during the year 2550- 2559 (AD 2007-2016) in basic education level. The sample group consisted of quantitative research in basic education level. Research tools consist of (1) Research Quality Evaluation Form (2) Research Report Summary Form. Data analysis uses frequency and effect size. The results showed that mean of effect size is 1.85 and standard deviation is 0.81.


Keywords


การวิเคราะห์อภิมาน, รูปแบบการสอน, ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์, ผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.