การศึกษาอัตลักษณ์นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ืNopparat Rattanawong

Abstract


บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาอุปสรรค และกระบวนการผลิตบัณฑิต ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  2. สร้างแบบวัดระดับอัตลักษณ์ของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 8 ประการด้านจิตพิสัย และ 3. ประเมินแบบวัดระดับอัตลักษณ์ของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(mixed-method research) ประชากรได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561 ทั้งหมด  7,113  รูป/คน จากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตปริญญาตรี จำนวน 840 รูป/คน จาก 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตแพร่ วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตอุบลราชธานี และวิทยาเขตนครราชศรีมา โดยใช้วิธีสุ่มแบบตามสะดวก (convenient sampling method) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักมีทั้งหมด 12 รูป/คน ประกอบด้วย รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการบริหาร

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตปริญญาตรี ที่อยู่ในเกณฑ์เป็นปัญหามาก มี 3 ประเด็น ได้แก่ ความยั่งยืนและต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์นิสิต (66.2%)  ความร่วมมือของนิสิตในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนวลักษณ์ตามที่มหาวิทยาลัยจัดให้ (64.8%)  และมีการประชาสัมพันธ์การส่งเสริมอัตลักษณ์และวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างทั่วถึง (54%) ตามลำดับ ด้านกระบวนการผลิตบัณฑิต  มีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบคือ กองกิจการนิสิต แบ่งเป็น 3 ส่วนงาน ได้แก่ กลุ่มงานส่งเสริมกิจการนิสิต กลุ่มงานสวัสดิการนิสิต และกลุ่มงานปฎิบัติศาสนกิจ

          2. แบบวัดอัตลักษณ์บัณฑิต ด้านจิตพิสัย มีกระบวนการสร้างดังนี้ 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบวัดอัตลักษณ์นิสิต 2. ศึกษาทฤษฎี นิยามที่เกี่ยวข้อง 3.ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ให้นิยามอัตลักษณ์ด้านจิตพิสัย 8 ประการ 4.เขียนนิยามอัตลักษณ์ จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้ให้นิยามไว้ 5. เขียนข้อคำถามของแบบวัด 6. ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงพินิจ 7.นำไปทดสอบครั้งที่ 1 8. นำไปทดสอบครั้งที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่าง แบบวัดที่สร้างขึ้น มีลักษณะเป็นองค์ประกอบรวม ซึ่งแตกเป็นตัวแปรโครงสร้าง 8 องค์ประกอบ ตัวชี้วัดองค์ประกอบ แต่ละตัวมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเกิน 0.50 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t-value ≥ 2.00) ทุกตัว

          3. ผลการประเมินแบบวัดอัตลักษณ์ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ด้านจิตพิสัย 8 ประการ มี 2 ปัจจัย ได้แก่ คณะ มีอิทธิพล 3.8% และวิทยาเขต มีอิทธิพล 11.70% ส่วนปัจจัยอื่นๆ มีอิทธิพลเพียงเล็กน้อย ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

           Abstract

           This study had 3 main objectives; 1. To investigate processes and obstacles of developing undergraduate student identity through Mahachulalongkornrajavidyalaya University’s desirable characteristics, 2. To construct affective identities’ test of undergraduate students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, and 3. To evaluate factors consisted affecting MCU undergraduate students’ identities.  The mixed-method design was applied in this study. The population consisted of 7,113 undergraduate students studying at Mahachulalongkornrajavidyalaya University’s campuses in academic year 2018. The samples consisted of 840 undergraduate students studying at 5 Mahachulalongkornrajavidyalaya University’s campuses; Chiang Mai, Phrae, Khonkhan, Ubon Ratchathani, and Nakhon Ratchasima campus by using convenient sampling method. The 12 key informants consisted of vice-rector, assistance to the rector, dean, vice-dean, assistance to the dean, instructors of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, who were considered having administrative experiences. 

            The results revealed as follows.

            1. Obstacles of developing undergraduate students’ affective-identities were sustainability and continuation of activities, organized by university, in order to cultivate undergraduate students’ identities (66.2%), students’ good cooperation in attending activities organized by university to promote their identities (64.8%), promoting students’ identities as well as MCU academic culture (54%) respectively. In terms of graduate production processes, there is Student Affairs Division, divided into 3 departments, taking responsible for student affairs, students’ service and welfare, and religious activities.

            2. The processes of constructing undergraduate affective identities’ test were as follows; 1. Determining the test objectives, 2. Studying theories and definitions related to undergraduates’ affective identities, 3. Determining the definition of each affective identity by key informants, 4. Writing 8 affective identities’ definitions by synthesizing data collected from related documents and key informants, 5. Writing  items of each affective identity, 6.  Conducting face validity, 7. Conducting try out, and 8. conducting trial run. The constructed undergraduate affective identities’ test consisted of 8 factors. The factor loading of each indicator was greater than 0.50, with a statistically significant level of 0.05 (t-value ≥ 2.00).

            3. The results of test evaluation revealed that there were 2 factors influencing undergraduates’ affective identities. The first was faculties (3.8%) and the second was campuses (11.70%). Other factors had less influence on undergraduate students’ identity and was classified as statistically non-significant.


Keywords


affective identities, undergraduate students, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.