การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าหม้อห้อมของเยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา

Sayan Innunjai, Raweeroth Sreekumpa, Thananan Kumthinkeaw, Pronsawan Sukmaitry, Kumkeaw Muang-ek, Poonsri Sawing

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าหม้อห้อม เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าหม้อห้อมนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน เพื่อถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าหม้อห้อมสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสานวิธี โดยมีทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

          ผลการวิจัย พบว่า

          ผลการวิจัยที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าหม้อห้อม พบว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำกันในครัวเรือนมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เคล็ดลับในการผลิตถูกเปิดเผยจากพ่อแม่สู่บุตรหลาน ถือเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

          ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า พบว่า มีการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้ผ้าฝ้ายธรรมชาติ สามารถย้อมทั้งสีธรรมชาติด้วยสีของห้อม ทั้งสีแบบวิทยาศาสตร์ และย้อมสีพิมพ์เทียน พร้อมนำผ้าชนิดอื่นและวัสดุอื่นมาประดับให้เกิดลวดลาย  ที่สวยงามน่าสนใจ มีการเล่าเรื่องราวผ่านสินค้า มีการพัฒนาชุดเคหภัณฑ์หม้อห้อมสุขใจ ประกอบไปด้วยหมอนอิงใบใหญ่ 1 ใบ หมอนอิงใบเล็ก 4 ใบ เบาะนั่ง 4 ผืน กล่องกระดาษชำระ 2 อัน ผ้าปูโต๊ะ 1 ผืน

          ผลการถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าหม้อห้อมสู่เยาวชนและผู้สูงอายุ   ในกลุ่มจังหวัดล้านนา พบว่า มีกิจกรรมการถ่ายทอดผลงานด้วยปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญเป็นผู้ถ่ายทอดให้ความรู้ การใช้เทคนิคการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน และมีการพิมพ์เทียนขี้ผึ้ง    ลงบนพื้นผ้า ตามลวดลายโดยใช้แม่พิมพ์ ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับของผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนาของเยาวชนและผู้สูงอายุ ในการถ่ายทอดผลงานรวมด้าน พบว่า ในภาพรวมก่อนเข้ารับการถ่ายทอดอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการรับถ่ายทอดอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

          The objectives of this article were to 1) study the process of creating  Mo Hom cloth works, 2) to create Morhom cloth art works leading to income enhancement to the community economy and 3) to transfer creative art works of Mo Hom cloth to youth and the elderly in the group of Lanna Province. This research was a mixed methods research by used both documentary research, qualitative research and action research.

          The research results related to the creative process of Morhom fabrics found that It was a product that was made in a household and was passed down from generation to generation. Production secrets were revealed from parents to children. It was a cultural heritage that had been passed down for a long time.

           The results of design of Morhom fabric products for value adding of product found that there were productive design by using natural cotton. It could be dyed both natural color with the color of the hoop and science and dye the candle along with using other fabrics and other materials to decorate for interesting creating, it had told the storied by passing the products and there was a development of a happiness home kit. that consists of 1 large cushion, 4 small cushions, 4 seat cushions, 2 toilet paper boxes, 1 tablecloth.

            The result of the transfer of creative art works of Morhom cloth to youth and elders in Lanna Province fould that there was an activity to convey the work by local scholars who were experts in delivering knowledge, using techniques for writing candles or printing candles, and it had a wax candle printed on the fabric according to the pattern using the mold. The result of the study the opinions on the elderly in the Lanna group of youth and the elderly In conveying the overall work, it was found that in the overall picture before receiving the broadcast were at medium level and after broadcasting was at a high level


Keywords


promotion of learning, creative arts of Mohom Product

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.