การประเมินโครงการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

Suriya Laoprasert, Thananun Thanarachataphoom, Sareeya Chotitham

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสำเร็จด้านผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการในปี พ.ศ. 2559 - 2563 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณเก็บข้อมูล จากแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 125 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบอาสาสมัครและแบบบันทึกข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลจากระบบสารสนเทศของโครงการ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. การประเมินความสำเร็จด้านผลผลิต ได้แก่ ประเด็นพิจารณาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ่านกิจกรรมการประกวด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 3 ตัวบ่งชี้ ขณะที่ประเด็นพิจารณาการจัดแสดงผลงานทางศิลปะอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปกรรม  ของชาติ ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยพบว่า สถาบันมีการจัดแสดงผลงานทางศิลปะในลักษณะชั่วคราวเท่านั้น ยังไม่มีการจัดแสดงผลงานทางศิลปะในลักษณะถาวรและลักษณะสัญจร

          2. การประเมินความสำเร็จด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ประเด็นพิจารณาการเห็นคุณค่าของ การสร้างสรรค์งานศิลปะ ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยกลุ่มเป้าหมาย มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.97, SD = 0.86) และประเด็นพิจารณาการสร้างแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยกลุ่มเป้าหมาย มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.24, SD = 0.83)

          3. การประเมินผลสำเร็จด้านผลกระทบ ประเด็นพิจารณาการรับรู้เกี่ยวกับโครงการ  ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยกลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.39, SD = 0.66)

 

 

Abstract

          The purposes of this article were to evaluate success in outputs, outcomes and impacts of national youth and juvenile art competition project by Bunditpatanasilpa Institute, Ministry of Culture. The data were collected by both quantitative and qualitative methods. Quantitative data were collected through a questionnaire survey of 125 persons selected by volunteer sampling and record form from information system of this project. Qualitative data were collected through an interview of 5 persons selected by purposive sampling. All data were analyzed by mean, standard deviation, frequency, percentage and content analysis.

          The results of this research revealed that

          1. The evaluation of project outputs found that the creation of artworks through contest activities was passed in all 3 indicators, the continuous and systematic of art exhibition as a national learning center was failed in an indicator. The Bunditpatanasilpa Institute conducted only a temporary exhibition. It did not conduct any permanent or traveling exhibition.

          2. The evaluation of project outcomes found that the appreciation of art creation was passed at a successful level (= 3.97, SD =0.86), and the creating inspiration in arts activities was passed at a very successful level (= 4.24, SD = 0.83).

          3. The evaluation of project impacts found that the perception of the project promoting the corporate image of Bunditpatanasilpa Institute was passed at a very successful level (= 4.39, SD = 0.66).


Keywords


Output, Outcome, Impact, Project Evaluation

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.