รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2

Nudtachanon Khamsam, Vajee Panyasai, Boonmun Thanasupawat

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 25 โรงเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพิจารณาความสอดคล้องและความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า

          1. ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 พบว่า โดยภาพรวม มี 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวาจา ด้านร่างกาย ด้านสังคม และด้านโลกไซเบอร์ อยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวาจา มีค่าเฉลี่ยมากกว่าทุกด้าน

          2. สภาพปัจจุบันการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า โรงเรียนมีวิธีการรูปแบบการบริการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยให้การอบรม การจัดกิจกรรมร่วมกันและการให้คำปรึกษา อาจเป็นเพราะว่าหน้าที่ในการดูแล อบรม นักเรียนเป็นหน้าที่ของครูประจำชั้นซึ่งมีการปฏิบัติในชั่วโมงโฮมรูมทุกวัน       

          3. รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า โรงเรียนได้แบ่งหน้าที่การทำงานออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง

 

 

Abstract

           This article aimed were 1) to study the problem of bullying behavior among students under the Office of Uttaradit Primary Education Area Office 2,  2) to study the conditions of the activities management of learner development to prevent bullying behaviors problem under the Office of Uttaradit Primary Education Area Office 2 and 3) to study a model of activities management to learner development to prevent bullying behavior problem under the Office of Uttaradit Primary Education Service Area 2.The samples in this research were the 25 extended schools under the Office of Uttaradit Primary Education Area Office 2 It was a mixed methods research. The data collection used with questionnaires. Qualitative information used with structured interviews. Research instruments were 5-level estimation questionnaires and structured interviews, statistics used data analysis as percentage (%), average (x), and standard deviation (S.D.). Synthesize data consider the consistency and relationship of the data by content analysis to study a model of management development activities to prevent bullying behaviors under the Office of Uttaradit Primary Education Area Office 2. The results showed that;

          1. The problem of bullying behavior among students under the Office of Uttaradit Primary Education Area Office 2 was found that there were overall four aspects : verbal, physical, social and the cyber world were at the lowest level. When considering each aspect, it was found that the verbal side was more average than all aspects.

          2. The conditions of the management of learner development activities to prevent bullying behaviors under the Office of Uttaradit Primary Education Area Office 2 in overall was found that the school had a model of management development activities by providing training, organizing activities together and consultation. It may be the duty to look after and instruct the students. The teacher should do homeroom every day.

          3. A model of development activities management to prevent bullying behavior problems under the Office of Uttaradit Primary Education Service Area 2 showed overall found that the school divided work duties into 3 components : teachers, administrators and parents.


Keywords


Behavior, Activities, model of Activities Management Development

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.