การจัดการองค์ความรู้การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้องรังของพระสงฆ์แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคเหนือ

Poonsarp Ketveeraphong, Phrukru Pariyattivarakorn, Theerawat Chanruam, Safon Insrichuen, Jesadaporn Inthamnerot

Abstract


บทคัดย่อ

            บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและการประเมินผลการจัดการองค์ความรู้ การป้องกันและแนวปฏิบัติการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์ 2) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์ เป็นการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) พื้นที่ในการวิจัย คือ แพร่และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถาม (questionnaire) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Groups Discussion) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 230 คน ผลการวิจัย พบว่า

            1. ผลการศึกษาการพัฒนาและการประเมินผลการจัดการองค์ความรู้การป้องกันและแนวปฏิบัติการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์ พบว่า มีกระบวนการ KM (Knowledge Management) ในกิจกรรม 4 ขั้นตอน

            ขั้นตอนพระสงฆ์มีการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างพระสงฆ์พระคิลานุปัฎฐาก รพ.สต. อสม. และส่วนขั้นตอนที่ 2, 3, 4 เป็นชุดกิจกรรม พบว่า พระสงฆ์มีความรู้เพิ่มขึ้น โดยได้แนวปฏิบัติ 4 หลัก คือ 1) มีการตื่นรู้ว่าโรคไม่ติดต่อรื้อรังเป็นโรคที่ที่ไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่อีกคนหนึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม เป็นภัยเงียบจากอาหาร 2) มีการชี้ให้เห็นถึงผลที่ตามมาของการฉันอาหาร การปรับพฤติกรรมการฉันอาหาร 3) การปรับความเชื่อของชาวบ้านในการถวายอาหารแก่พระสงฆ์ 4) การเปลี่ยนทัศนคติแทรกความรู้ในการเทศนาธรรมเรื่อง 3อ. 2ส. และมีการศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต แผ่นพับจากสื่อต่าง ๆ วิธีการป้องกันตัวเรา/ เขา/ ท่าน ให้ห่างไกลโรค เกิดแนวปฏิบัติ ตามหลัก 4 ป คือ การเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านและพระสงฆ์ พระสงฆ์จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตระหนักในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพ พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี มีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมเป็นประจำ

             ส่วนผลการประเมินรูปแบบการจัดการองค์ความรู้การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์ เชิงปริมาณ พบว่า พระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน หลังได้รับกิจกรรม มีการจัดการองค์ความรู้ ดีกว่าก่อนการได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             2. ผลของการศึกษา พบว่า มีการเสริมสร้างเครือข่าย พระสงฆ์ ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานรัฐ เอกชน เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน การประชาคมผ่าน/สื่อ/ภาครัฐ/รพ.สต/ อสม. มีการสร้างแรงบันดาลใจ การเปิดตัวพระคิลานุปัฐากและกลุ่มสนับสนุนสุขภาพในชุมชน คือ รพ.สต. อส.ม. การใช้สื่อจะช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้ได้หลากหลายรูปแบบ มีการสร้างข้อตกลงร่วม สร้างเครือข่ายด้วยการทำ MOU ร่วมกับคณะสงฆ์ มจร. รพ.สต. ทุกตำบล อสม.ผู้นำชุมชน ทำเป็นเชิงนโยบายสู่กระบวนการสร้างเครือข่ายในชุมชน

 

Abstract

             The objectives of this articte were 1) to develop and evaluate the knowledge management, prevention and practice of health promotion of non-communicable diseases of the monks with the participation of the Northern network partners, 2) to strengthen the network for the prevention and health promotion of non-communicable diseases of the monks with the participation of the Northern Alliance. This research was a research and development with emphasis on action research and quantitative research. Research area were Phrae and Nan. The research tool used in questionnaire, In-depth Interview, focus groups discussion, a sample were 230 peoples.

          The results of this research were as followed:

          1. The results of the study development and evaluation of the knowledge management, prevention and practice of promoting health enhancement on non-communicable diseases of the monks with the participation of the Northern Network Partners. found that there were knowledge management process in activities on 4 steps as using the exchange of knowledge between monks Kilanupathak Buddha, the hospital had increased the knowledge of the monks and the 4 main guidelines were : 1) there was an awareness that non-communicable disease is a disease that cannot be transmitted to other people. one Not harmful to society and a silent threat from food 2) It had been pointed out to the consequences of my diet. Food behavior adjustment 3) Adjusting the beliefs of the villagers in offering food to the monks. 4) the monks had to learn from various media such as documents, pamphlets and through the health media website, away from disease.  It also had got practice guidelines were obtained : Changing the attitudes of villagers and monks to have more awareness in taking care of the monks' health, Change behavior for the better, be aware of prevention and health promotion, The monks must behave properly, exercise and annual health check,
Monks had to regularly perform proper self-care in taking care of their health. And the quantitative evaluation of the knowledge management, prevention and health promotion model in chronic disease of the monks found that the monks in Phrae Province And Nan Province after receiving the activity Knowledge management was significantly better than prior to obtaining statistically significant knowledge management activities at the .05 level.

            2. The results of the study of network strengthening in the prevention and health promotion of non-communicable diseases of the monks with the participation of the Northern Network Alliance found that there was a network strengthening process using the four S principles ad 1. The Sangha and local personnel had fully exercised their ability to perform their duties. Through the community through / media / government sector / ST hospital / Or Sor. 2. Creating inspiration The launch of the Kilanupathak And community health support groups, namely SSO. 3. Using media to help in various forms of publicity. 4. Creating agreements. join Create a network by doing a MOU with the Sangha Monastery, the hospital, every sub-district, the community leader. Make a policy to create a network in the community.


Keywords


Knowledge management, Protection, Promoting well-being, Monks, Northern Region Network

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.