ถอดบทเรียนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีด้านการศึกษาให้แก่ผู้เรียนโดยบัณฑิตจบใหม่ ภายใต้โครงการ “อว. สร้างงาน เฟส 2”

Weeranuch Yamyim, Phat Sartsin, Piyanuch Luerngam, Somyong Seekhao

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีด้านการศึกษาให้แก่ผู้เรียนโดยบัณฑิตจบใหม่ ภายใต้โครงการ“อว. สร้างงาน เฟส 2” โดยมีเครื่องมือในการถอดบทเรียนคือแบบสอบถามความคิดเห็น การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานและตัวแทนสถานศึกษา โดยมีผลการศึกษาคือ

          1. ภาพรวมของการดำเนินงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.20 โดยแผนงานด้านการศึกษาคือการพัฒนาทักษะนักเรียนด้านสื่อดิจิทัล การรู้เท่าทันสื่อ การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ โดยผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการ up skill – re skill หรือการอบรมแนวคิดและแนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีการศึกษาและพลเมืองดิจิทัล และในประเด็นที่สำคัญคือโครงการนี้ไม่มั่นคงเนื่องมาจากเป็นการจ้างปฏิบัติงานเพียงชั่วคราว จึงอยากให้มีโครงการแบบต่อเนื่องหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่ลดลง

          2. การสะท้อนผลการศึกษาปรากฎว่าโครงการนี้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนคุณครูที่มีอายุงานสูงเพราะยังไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และยังเสริมทักษะให้กับผู้เรียนได้ดี แต่ควรแยกกลุ่มทำงานตามความชำนาญเพื่อให้ได้ผู้ทำงานที่มีประสิทธิภาพ และควรมีระยะเวลาในการจ้างงานให้มากกว่านี้เพื่อผลผลิตในระยะยาวที่จะส่งผลต่อคุณครูและนักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

Abstract

          The purpose of this study is to present the results of the skills development in digital and educational technology for students by new graduates under the “MHESI Create Jobs Phase 2” Project with the tools, i.e., opinion questionnaires, informal interviews. The sample group was practitioners and representatives of educational institutions. The results of the study were:

          1. The overall satisfaction of the operation was at the highest level (93.20%). The educational program is to develop students' skills in digital media, media literacy, using media for teaching with quality. Practitioners have increased confidence when acquiring up-skill-re-skill or training on educational technology and digital citizenship concepts and practices and on critical issues. The project is unstable as it is a temporary outsourcing, and ongoing projects are called upon if the COVID-19 epidemic situation has not subsided.

          2. Reflecting on the results of the study appears that this project plays an important role in supporting senior teachers because they are unable to adapt to changes in technology. In addition, it also enhances the skills of students but should be divided into groups based on their expertise to obtain effective workers. The duration of employment should be provided for long-term productivity that would result in more accurate and effective knowledge of teachers and students.


Keywords


Skills Development, Digital Citizenship, Educational Technology

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.