การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของกาเย่ สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Wilad Supha, Parinyapast Seethong

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของกาเย่ สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของกาเย่ สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของกาเย่ สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 5) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) สื่อ/แหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดและการประเมินผล หลักสูตรมีความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คู่มือหลักสูตรมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับ และค่าประสิทธิผลของการเรียนตามหลักสูตร เท่ากับ 0.7423 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของกาเย่ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

 

 

Abstract

          The purposes of this research were to: 1)  to establish and determine the effectiveness index of curriculum to enhance Thai communicative writing ability using Gagne's method for senior high school students non-formal and informal education centre 2) to study the results from curriculum to enhance Thai communicative writing ability using Gagne's method for senior high school students non-formal and informal education centre which was pre-experimental research and the pattern used in the experiment was one-group pre-test post-test design. The samples group used senior high school students, Semester 2, Academic Year 2021 Nan office the non-formal and informal education, 30 students. This was obtained from cluster random sampling. The Study instruments were curriculum, curriculum manual and Thai communicative writing ability test. The statistics used for analyzed using percentage, mean, and standard deviation T-test dependent.

          The results of the research were found as follows: 1) The curriculum to enhance Thai communicative writing ability using Gagne's method for senior high school students non-formal and informal education centre consisted of 7 elements 1) problem statement 2) principle of curriculum 3) aims of curriculum 4) content structures 5) activity 6) materials resources and learning sources and 7) measurement and evaluation. The level of the overall appropriateness of the curriculum was high The level of the overall appropriateness of curriculum's manual was high and the effectiveness of learning according to the curriculum was 0.7423 2) Students who have studied with the curriculum to enhance Thai communicative writing ability using Gagne's method had a statistically higher average score for speaking communicative ability after study at the level of .05


Keywords


Curriculum development, Gagne's method, Communicative writing ability

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.