รูปแบบการพัฒนาวัดตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธ กรณีศึกษา : วัดส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ระดับดีเยี่ยม

Chantarat Tapuling, Phisit Kotsupho, Phrakh Siripariyatyanusath

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธ  2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาวัดตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธและ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรจำนวน 5 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัด (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา  (3) นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม  (4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรม (5) นักวิชาการด้านศาสนา รวมทั้งสิ้น 21 รูป/คน ในพื้นที่ที่เป็นกรณีศึกษา 3 วัด คือ (1) วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (2) วัดสันป่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย  (3) วัดป่าเห็ว  อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

          แนวคิดนิเวศวิทยาเชิงพุทธ  ผลการวิจัยพบว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นโดยการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเมื่อประมาณ 2,600 กว่าปีมาแล้ว หลักคำสอนเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งพัฒนาขัดเกลาพฤติกรรม จิตใจ และฝึกฝนสติปัญญาเพื่อให้มองเห็นโลก (สิ่งแวดล้อม) และชีวิตตามความเป็นจริง มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวมนุษย์กับธรรมชาติอย่างกลมกลืนแนบแน่น โดยมองว่ามนุษย์เกิดขึ้นโดยธรรมชาติทั้งทางร่างกายซึ่งประกอบด้วยธาตุ 4  และทางจิตใจ ซึ่งต่างก็เปลี่ยนแปลงไปตามกฎของธรรมชาติหรือที่เรียกว่าไตรลักษณ์ และอิงอาศัยพึ่งพากันอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติตามหลักแห่งอิทัปปัจจยตา

          กระบวนการพัฒนาวัดตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธ ผลการวิจัยพบว่า ทั้ง 3 วัด มีการวางแผนในการดำเนินการพัฒนาวัดด้านสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายของการพัฒนาวัดที่ชัดเจน ที่สำคัญคือผู้นำต้องกล้าหาญในการพัฒนาและนำคนในวัดได้แก่ พระสงฆ์ สามเณร แม่ชี โยคี และประชาชน ร่วมกายและร่วมใจในการพัฒนาวัด สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาวัด ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในวัด และปัจจัยด้านผู้นำมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในวัดและปัจจัยด้านการสร้างเครือข่ายสนับสนุน ได้แก่ พลัง “บวร” บ้าน วัด และโรงเรียน (ส่วนงานราชการ) ผลสำเร็จของการพัฒนาวัดมาจาก 3 ด้าน คือ ด้านพื้นที่ทางกายภาพ ความสะอาด ความร่มรื่น  ด้านพื้นที่ทางสังคม วัดเป็นสถานที่สำคัญในการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  และด้านพื้นที่จิตวิญญาณ วัดเป็นแหล่งพัฒนาด้านจิตใจ เป็นสถานที่รมณียสถานเหมาะแก่การพัฒนาจิตใจและปัญญา

          สำหรับ รูปแบบการพัฒนาวัดตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธ ผลการวิจัยพบว่า มี 4 รูปแบบ คือ     1) กำหนดแนวคิดและประเด็นการพัฒนาวัดตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธ  2) การมีส่วนร่วมของคนในวัดและประชาชนในชุมชน  3) มีการกำหนดแผนการพัฒนาวัด เพื่อความสะอาด สว่าง สงบ และ      4) มีการเสริมสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนด้วยพลังบวร (บ้าน วัด และโรงเรียน)

 

 

Abstract

            This research entitled “A Model of Temple Development According to Buddhist Ecology: A Case Study of Temples Promoting Environmental Management at an Excellent Level” is of three objectives: 1) to study the concept of Buddhist ecology, 2) to study the process of temple development according to Buddhist ecology, and 3) to propose a development model based on Buddhist ecology. This research was qualitative research. Data were collected by in-depth interviews from twenty-one people from five groups: (1) groups related to temple development, (2) Buddhist experts, (3) environmental scholars, 4) cultural scholars, and 5) religious scholars by visiting the study area at three temples: (1) Wat Ram Poeng (Tapotaram), Muang District, Chiang Mai Province, (2) Wat San Pa Yang, Mueang District, Chiang Rai Province, and (3) Wat Pa Heo, Mueang District, Lamphun Province.

           From the study of Buddhist ecology concepts, it was found that Buddhism was a religion that arose through the enlightenment of the Lord Buddha about 2,600 years ago. The doctrine was a way of life that aimed to develop behavior, mind, and practice intellect to see the world (environment), and real life from the truth, and be able to see the relationship between man and nature in close harmony. It could be seen that human beings were born naturally, both physically composed of the four elements and mentally, which all changed according to the laws of nature, known as the Three Characteristics, and depended on each other in harmony with nature according to the principle of Specific Conditionality.

            For the process of temple development according to Buddhist ecology of temples promoting environmental management, it was found that all three temples had planned to implement the environmental development. There was a clear goal of the temple development. Importantly, the leaders were required to have courage to develop and lead people in the temple, including monks, novices, nuns, yogis, and people to participate in the development of the temple. The factors affecting the success of the temple development consisted of three factors: environmental factor within the temple, the leadership factor in having a vision to develop the environment within the temple, and the factor in building a support network, which was the power of “Borvorn” or Home, Temple and School (government sectors). The success of the temple development came from three aspects: physical area (cleanliness and shades), social space where the temple was an important place for Buddhist activities and learning resources in the community, and spiritual space where the temple was a source of spiritual development and a place of worship that was suitable for mental and intellectual development.

            For the model of temple development according to Buddhist ecology, it was found that there were four forms: 1) formulating the concept and issues of temple development according to Buddhist ecology, 2) participation of people in the temple and people in the community, 3) formulating a temple development plan for cleanliness, brightness, and peace, and 4) strengthening of a network driven by the Roles of Borvorn (Home, Temple and School)


Keywords


Temple Development , Buddhist Ecology, Environmental

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.