แนวทางการบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ในยุคดิจิทัลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จังหวัดเชียงใหม่

Siritorn Somja, Chakparun Wichaakkharawit

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูง 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในยุคดิจิทัลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาของกลุ่มเครือข่ายพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในยุคดิจิทัลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6  สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกรายการโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ด้านการบริหารงานงบประมาณและด้านการบริหารงานวิชาการ ส่วนสภาพปัญหาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกรายการโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานทั่วไปและด้านการบริหารงานงบประมาณ

2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในยุคดิจิทัลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 พบว่าสภาพปัจจุบันความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนสภาพปัญหามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3. แนวทางการบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในยุคดิจิทัลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วยแนวทางการบริหารสถานศึกษา 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไป และด้านการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล

คำสำคัญ : การบริหารสถานศึกษา พื้นที่สูง กลุ่มชาติพันธุ์ ยุคดิจิทัล

 

Abstract

The objectives of this research were to 1) examine the current conditions and problems of school administration, 2) compare the opinions of administrators, teachers, educational personnel, and school boards on the current conditions and problems of the administration of highland schools . and 3) administrative guidelines for highland schools with ethnic students in the digital age in the development education network under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 6  The population used in the research included school administrators, teacher faculties and educational personnel, and school boards of the development education network under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 6, for a total of 192.  The tools used in the research consisted of questionnaires.  The data were analyzed by an application package for frequencies, percentages, mean and standard deviation, and one-way analysis of variance (One-Way ANOVA).

The results indicated that:

1. Current conditions and problems of highland schools with ethnic students in the digital age in the development education network under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 6: The overall current conditions were at a high level.  In reviewing each aspect, it was found that all items were at high levels.  At ordering from high to low average values, the order was personnel administration, general administration, technology usage in the digital era, budget administration, and academic administration.  The overall problem conditions were at a high level.  In reviewing each aspect, it was found that all items were at high levels.  At ordering from high to low average values, the order was technology usage in the digital era, personnel administration, academic administration, general administration, and budget administration.

2. Comparison of the opinions of administrators, teachers, educational personnel, and school boards on the current conditions and problems in the administration of highland schools with ethnic students in the digital age in the development education network under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 6: It was found that the opinions of the current conditions were not statistically different at 0.05.  However, the opinions on problem conditions showed statistically significant differences at 0.05.

3. Administrative guidelines for highland schools with ethnic students in the digital age in the development education network under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 6 consisted of five school administrative guidelines.  These included academic administration, budget administration, personnel administration, general administration, and technology usage in the digital era.

Keywords: School Administration, Highland Areas, Ethnic Groups, Digital Era

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.