การจัดการองค์ความรู้และกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่

Sittichai Jayasiddi (Panyawai), Aphicha Sukjeen, Phra Anusorn Ruengpannarat, Thada Chareankusol

Abstract


บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ 
3) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และกระบวนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การศึกษาจากหนังสือ เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการ จำนวน 32 คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้

          การจัดการองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ทั้ง 4 พื้นที่ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมของชุมชนทุ่งโฮ้ง ผลิตภัณฑ์ไม้สักของชุมชนดอนมูล ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของชุมชนค่างาม และผลิตภัณฑ์ไม้สักของชุมชนบวกโป่ง มีกระบวนการจัดการองค์ความรู้ 5 ด้าน คือ ด้านการกำหนดองค์ความรู้ การแสวงหาองค์ความรู้ การจัดกเก็บองค์ความรู้ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          รูปแบบและกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ มีทั้งหมด 5 กระบวนการ ประกอบไปด้วย 1) กระบวนการสร้างสรรค์ คือ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ และขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท 2) กระบวนการออกแบบ คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่โดยไม่ทิ้งอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เดิม 3) กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในการสนับสนุน 4) กระบวนการเรียนรู้ คือ การถ่ายทอดทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และการถ่ายทอดผ่านศูนย์การเรียนรู้ และ 5) กระบวนการสร้างเครือข่าย คือ การสร้างเครือข่ายทั้งในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

          การนำเสนอองค์ความรู้และกระบวนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ เป็นการนำเสนอองค์ความรู้ด้านประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่มีการพัฒนามาโดยลำดับ ที่แต่เดิมเป็นการผลิตเพื่อใช้งาน จนในปัจจุบันเป็นการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

 

Abstract

          This study was conducted with 3 main objectives: 1. To investigate the body of knowledge concerning right livelihood communities’ products of Phrae province, 2. To study the model and processes of product creation of the right livelihood communities of Phrae province, and 3. To present the body of knowledge and product creation processes of the right livelihood communities of Phrae province. Applying qualitative research, the qualitative data were gathered from related books, documents, textbooks, and research. The in-depth interview was also used to collected data from 32 key informants, consisting of community leaders and entrepreneurs.

          The findings indicated as follows.

The knowledge management of right livelihood communities was conducted in 4 areas of Phrae province: Moh Hom products of Tung Hong community, teak products of Don Moon community, wickerwork of Kah Ngam community, and teak products of Bouk Pong community. It consisted of 5 processes: knowledge identification, knowledge creation and acquisition, knowledge organization, Knowledge sharing, and knowledge utilization.

          The model of product creation consisted of 5 processes: 1. Creation process—materials and instruments were provided in order to produce the products, 2. Designing process—the products were redesigned based on identities of the former products, 3. Product development process—the participation of government organizations, 4. Learning process—knowledge and skills were transferred to family members and people in communities through learning centers of each area, and 5. Network creation process—the network creation in upstream, midstream, and downstream levels.

          The presentation of the body of knowledge and production processes of right livelihood communities’ products of Phrae province was based on the history, background, and product development in past and present times.  Nowadays, it is mostly seen as a rise in economic worth rather than practical usage to enhance the quality of life of people living in communities.


Keywords


Knowledge Management, Community Products, Right Livelihood Communities

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.