การพัฒนานวัตกรรมไม้ดามสำหรับผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก จังหวัดแพร่
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนานวัตกรรมไม้ดามสําหรับผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และ2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การใช้นวัตกรรมไม้ดามไม้ไผ่ต่อการลดอาการปวดในช่วงลำเลียงของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก ตามกรอบแนวคิด ADDI MODEL กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 1 จำนวน 50 คน ได้แก่ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ 10 คน แกนนำสุขภาพในชุมชน (อสม) 7 คน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออโธปิดิกส์ 2 คน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1 คน ผู้สูงอายุ 30 คน กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 2 คือ ผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก จำนวน 44 คน กลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดกลุ่มเนื้อหา เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังพัฒนาใช้สถิติ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1) การพัฒนาไม้ดาม คือ ส่วนรองรับตั้งแต่เท้าจนถึงหลังมีความยาว120 ซม.ส่วนรองรับส่วนบนมีความยาว 30 ซม.แต่ละท่อนมีความกว้าง 2 นิ้ว ความบาง 0.5 ซม.ป้องกันการผุกร่อนง่ายโดยนำไม้แช่น้ำใบ ยูคาลิปตัส 5 วัน และผึ่งไว้จนแห้งสนิท ทาด้วยสีเคลือบเงาไม้ จำนวน 2 รอบ บุด้วยฟองน้ำชนิดนุ่มกันความร้อนหนา 1 ซม. หุ้มผ้าพลาสติกเกรดดี ยึดตีนตุ๊กแกบริเวณหน้าแข้ง ต้นขา สะโพก และเอวเหนือสะโพก
2) ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มที่ได้รับการใช้นวัตกรรม “ไม้ดามไม้ไผ่” มีระดับความเจ็บปวด น้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการใช้ไม้ดามรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( = 5.00, SD = 0.00, t = 0.478, p < .01)
ABSTRACT
This research was Research and Development. The objectives were 1) to develop innovative splint for older persons with hip fracture from folk wisdom, and 2) to compare the results of using innovations of splint on reducing pain in older persons for The transport phase for the elderly hip fracture According to the ADDI MODEL framework, the sample group in Phase I consisted of 50 people, including 10 medical emergency volunteers, 7 community health leaders (VHVs), 2 orthopedic physicians, 1 heads of the Emergency Medical Service Operations Center and 30 older persons. The second phase sample consisted of 44 elderly hip fractures, 22 in the experimental group and 22 in the control group. Qualitative data were analyzed by content grouping. Compare the results before and after the development using Paired t-test statistics.
The results of developing the forms of splint for older persons with hip fracture responder after developing were:
1)The development of innovative splint is a support from the feet to the back with a length of 120 The upper support is 30 cm long, each piece is 2 inches wide, 0.5 cm thin. Prevents corrosion by soaking the wood in eucalyptus leaf water for 5 days and drying until completely dry. Paint with 2 coats of wood lacquer paint, padded with 1 cm thick heat-resistant soft sponge and covered with good grade plastic cloth. Fasten the grommets on the shins, thighs, hips, and waist above the hips.
2) The mean pain level of the elderly with hip fracture found that the elderly group who received the innovation “Bamboo sticks” have a level of pain. They were significantly less than those of the elderly who received normal veneers at the .01 level ( = 5.00, SD = 0.00, t = 0.478, p < .01).
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.