Author Guidelines
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ
รูปแบบเอกสารอ้างอิงวารสาร การสอนสังคมศึกษา
เอกสารที่นํามาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือสามารถสืบค้นได้ เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้อง จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์
สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับบทความ
สำนักงานวารสาร การสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ 79 หมู่ 1 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทร. 061-9569936, 086-3896509 E-mail: jtss@mcu.ac.th
- ส่วนประกอบของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารการสอนสังคมศึกษา ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้
1.1 บทความพิเศษ บทความวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น ซึ่งผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในด้านต่างๆ
1.2 บทความวิชาการ บทความที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษา หรือ ประชาชนทั่วไป
1.3 บทความวิจัย รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน
1.4 บทความปริทรรศน์ เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบกัน
การส่งบทความ
บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารการสอนสังคมศึกษาจะต้องส่งจดหมายนำส่งบทความพร้อมต้นฉบับแบบพิมพ์ 3 ชุด มายังกองบรรณาธิการ ซึ่งกรณีที่บทความได้รับการตีพิมพ์บรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนนิพนธ์ส่งบทความต้นฉบับที่แก้ไขครั้งสุดท้าย พร้อมซีดีรอม (CD ROM) 1 แผ่นที่บรรจุเนื้อหาและข้อมูลที่มีอยู่ในบทความทั้งหมดที่ได้แก้ไขแล้ว ทั้งนี้ผู้นิพนธ์ต้องมีสำเนาเก็บไว้ด้วยเพื่อการอ้างอิง
การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
ผู้เขียนควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความ ที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นนอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับกองบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณา ตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) 6th edition มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยเพื่อรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป รวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยวิชาการถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการสอนสังคมศึกษาส
รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม การตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (อักขราวิสุทธิ์) และการตรวจสอบการคัดลอกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ CopyCatch (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System) โดยจะต้องมีระดับความซ้ำซ้อน ไม่เกิน 20%
การเตรียมบทความ
บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double Spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษพิมพ์สั้นขนาดเอ 4 (A4) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 2.54 cm ด้านซ้าย 3.7 cm และด้านขวา 2.00 cm และ ด้านล่าง 2.54 cm พร้อมใส่หมายเลขหน้ากำกับทางมุมขวาบนทุกหน้าบทความไม่ควรยาวเกิน 8 -15 หน้ากระดาษพิมพ์ โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง
การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวน 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – Blind Peer Review)
ตัวอักษร และขนาดอักษร (Font)
บทความต้นฉบับพิมพ์ภาษาไทย ใช้รูปแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH SarabunPSK) ขนาดอักษร 16 และภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร (Font) โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double Spacing) ตลอดเอกสาร ขนาด (Font size) และรูปแบบตัวอักษร (Font style) ดังนี้ ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ขนาด 18 points ตัวพิมพ์หนา (Bold) ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) ขนาด 18 points ตัวพิมพ์หนา (Bold) ชื่อผู้นิพนธ์บทความ ภาษาไทย ขนาด 14 points และภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point ตัวพิมพ์ธรรมดา (Normal) และหัวข้อหลัก ขนาด 18 points ตัวพิมพ์หนา (Bold) และเนื้อหาในบทความ ขนาด 16 points) ตัวพิมพ์ธรรมดา (Normal)
- 2. ส่วนบทคัดย่อ (Abstract)
บทคัดย่อควรมีความไม่เกิน 300 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่องไม่ต้องอ้างเอกสาร รูปแบบ หรือ ตาราง และลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วิธีการศึกษา (Methods) ผลการศึกษา (Results) สรุป (Conclusion)
- 3. ส่วนเนื้อหาบทความ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
3.1 บทความวิจัย (Research Article) (8-15 หน้า)
3.1.1 บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อควรมีความไม่เกิน 300 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่องไม่ต้องอ้างเอกสาร รูปแบบ หรือ ตาราง และลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objective) วิธีการดำเนินการวิจัย (Research Methods) ผลการวิจัย (Research Results) ซึ่งควรเรียบเรียงตามลำดับและแยกหัวข้อให้ชัดเจน
3.1.2 คำสำคัญ (Key Words) คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา และจะปรากฎอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร และคั่นด้วยเครื่องหมายอัตภาค (,) เช่น การสอนสังคม, นวัตกรรม, พุทธวิธีการสอน
3.1.3 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้ สมมติฐานของการศึกษา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการศึกษาให้ชัดเจน (กรณีการอ้างอิงจะใช้รูปแบบ APA เช่น (สมชัย ศรีนอก, 2563: 39)
3.1.4 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษาเป็นการวิจัย รูปแบบวิธีการดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา วิธีการศึกษาวิจัย กรอบแนวคิด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
3.1.5 ผลการวิจัย (Research Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จากการศึกษา และวิเคราะห์ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่ และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง และแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
3.1.6 อภิปรายผลการวิจัย (Research Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์ นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆ รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
3.1.7 องค์ความรู้จากการวิจัย (Research Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ในงานวิจัย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ หรือ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้เกิดขึ้นนั้นสามารถนำมาใช้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรืองานที่กระทำอยู่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ในลักษณะต่างๆได้
3.1.8 ข้อเสนอแนะการวิจัย (Research Suggestions) การแนะนำแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยการให้แยกออกเป็นหัวข้อย่อยให้ชัดเจน
3.1.9 เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงต้องให้ถูกต้องเป็นไปตามรูปแบบของวารสาร คือ APA (American Psychological Association)