ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา ในโรงเรียนวัดบางปะกอก สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

พระณรงค์ ฐานวุฑฺโฒ,ดร., ดร.วรวิทย์ บุญไทย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนวัดบางปะกอก กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

          1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 51.6 แบ่งเป็นบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 29 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 1-2 จำนวน 53 คน โดยบุคลากรทางการศึกษามีอายุมากกว่า 40 ปี จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 17.0 ส่วนนักเรียนที่มีอายุตำกว่า 20 ปี จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 59.7 ซึ่งบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิ ปริญญาตรี 55 คน คิดเป็นร้อยละ 34.8 และนักเรียนมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 24.5 ส่วนใหญ่เรียนธรรมศึกษาชั้น ตรี จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 49.1 ธรรมศึกษาชั้น โท จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 ธรรมศึกษาชั้น เอก จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 17.6

           2. ความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา ในโรงเรียนวัดบางปะกอก พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ล้วนมีความพึงพอใจต่อครูผู้สอนในระดับมากที่สุด และในด้านรองลงมาได้แก่ ด้านเนื้อหาและวิธีการสอน, ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก, ด้านการบริหารทั่วไปตามลำดับ

           3. ผลการเปรียบเทียบ ความพึงพอใจของบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา ในโรงเรียนวัดบางปะกอก มีความพึงพอใจในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรทางการศึกษา มีความพึงพอใจมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

The research is the aim to study and compare the satisfaction possessed by Satisfaction of Educational Personnel and Secondary Students Concern with Dhammasueksha Learning and Studies Management in Bangpakok School Ratburana Office Bangkok. The example groups used in the research works are the Educational people and the student’s number of 159. The instruments used in this research works are: the questionnaires, the percentage, the average, the standard deviation, the t-test, and the one – way ANOVA with the statistic point of the level 0.05

From the research, is found that

1. Most of the answer’s questionnaires are male 82 persons, at the percentage of 51.6. The academicians are numbers of 29 persons, then secondary student’s level 1 – 2 are number of 53 persons. The educational persons are of the ages of more than 40 years, number of 27 persons, the percentage of 17.0. The students who ages lower than 20 years, number of 95 persons, the percentage of 59.7. Most of educated 55 persons have bachelor degrees at the percentage of 34.8. And secondary students’ level 3, number of 39 persons, the percentage of 24.5. Most of educated Dhammasueksha level-one 78 persons, the percentage of 49.1. Dhammasueksha level-two 53 persons, the percentage of 33.3. Dhammasueksha level-three 28 persons, the percentage of 17.6.

          2. From Satisfaction of Educational Persons and Secondary Students Concern with Dhammasueksha Learning and Studies Management in Bangpako School Rajburana Office Bangkok, totally at high level, then considered side by side on 4 sides, is found that satisfied with teachers at high level, and lower than that meaning and teaching method, in part of convenience and general administration to arise.

3. The results for comparison Satisfaction of Educational Persons and Secondary Students Concern with Dhammasueksha Learning and Studies Management in Bangpako School Rajburana Office Bangkok, are not different with important point in statistic at the level of 0.05, and then considered side by side, is found that educational personnel’s satisfaction vocational and high vocational education students with 4 part the statistical important at 0.05


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.