สมบัติผู้ดีกรอบการดำเนินชีวิตตามกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและตีความความหมายของคำว่า “ผู้ดี” ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสมบัติของผู้ดี และเพื่อหาหลักในทางจริยศาสตร์ของไทยที่เขียนไว้ในหนังสือสมบัติของผู้ดีอันเป็นหลักในการประพฤติและปฏิบัติตนของไทยที่ควรปฏิบัติต่อกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องสมบัติผู้ดีกรอบการดำเนินชีวิตตามกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง:การศึกษาเชิงวิคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน (Thai Decorum (Sombat Phudee) in Moderate Postmodern Paradigm: An Analytic, Appreciative and Applicative Approach)
ผลการวิจัย พบว่า หลักเกณฑ์ที่เขียนไว้ในหนังสือสมบัติของผู้ดีสามารถใช้เป็นหลักในการประพฤติและปฏิบัติตนของไทยสามารถที่คนไทยจะใช้ประพฤติหรือปฏิบัติตนต่อกันทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดชีวิตที่ดีต่อทั้งตนเองและผู้อื่น และยังคงมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยโดยหลักการดังกล่าวสามารถใช้ได้กับคนที่เรียกตนเองว่า “คนไทย” โดยไม่แบ่งแยกว่าตนเองเป็นคนที่มีฐานะยากจน หรือร่ำรวย หรือจบการศึกษาระดับใด หรือเป็นคนที่มีสถานะภาพแบบใด
Abstract
The objective of this research is to study a book, Thai Decorum (Sombat Phudee), in which recorded Thai ethical principles and to discover and interpret the concept of “noble (Phudee)” found in it. Thais ought to behave and treat each other according to these principles. This article is a part of author’s Ph.D. dissertation, Thai Decorum (Sombat Phudee) in Moderate Postmodern Paradigm: An Analytic, Appreciative and Applicative Approach.
The research findings are that the principles written in Thai Decorum (Sombat Phudee) could be Thai ethical principles in behaving in society to achieve good life and happiness for oneself and others. Also, the principles represent Thai identity, meaning that Thais could apply them in practice without considering regardless of their economic level, education level or status.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.