การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมาโคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมาโคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมาโคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอรุโณทัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 27 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฯ 2) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ และ 3) แบบทดสอบวัดความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมาโคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตร อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.88, S.D. = 0.53) คู่มือการใช้หลักสูตร มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับ มาก (𝑥̅= 4.32, S.D. = 0.63) ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตร มีประสิทธิภาพ 79.42 /83.58 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) การศึกษาผลการใช้หลักสูตรพบว่า นักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีคะแนนคะแนนแบบทดสอบวัดความฉลาดทางดิจิทัลสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The objectives of this research were 1) to construction and determine efficiency of the curriculum development to encourage Digital intelligence Quotient for nine grade students by using Macro Model and 2) to investigate on the result of the curriculum development to encourage Digital intelligence Quotient for nine grade students by using Macro Model. The representative samples in this research were 27 students studying in grade 9 enrolled in second semester of academic year 2021 of Arunothai School, under Office of the Private Education Commission by using simple random sampling. The research tools used in this research were 1) a curriculum 2) a handbook and 3) a Digital Intelligence Quotient test. The result data was analyzed to find percentage value, average value, E1/E2, standard deviation and One-Sample t-Test.
Research findings were as follows: 1) the construction and determine efficiency of the curriculum shows the mean value of the curriculum as high level (𝑥̅ = 3.88, S.D. = 0.53), a handbook shows the mean value of the curriculum as high level (𝑥̅= 4.32, S.D. = 0.63), and efficiency of the curriculum met efficiency at 79.42 /83.58 which was higher than the criterion. 2) From the result of a curriculum, it can be found that the students who took the curriculum had scores on the Digital Intelligence test that were statistically significantly higher than the criterion of .05.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.