การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Siraprapa Buakhom

Abstract


บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จังหวัดเชียงราย จำนวน 38 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด จำนวน 6 แบบฝึก แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรียงความ จำนวน 14 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัยจำนวน 1 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า

        1. แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ 81.02/81.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

        2. ผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 9.89 คิดเป็นร้อยละ 49.47 สำหรับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 16.53 คิดเป็นร้อยละ 82.63 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด มีคะแนนผลต่างเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.63 คิดเป็นร้อยละ 33.20 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

        3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

 

Abstract

          The purposes of this research were to create the essay writing exercises with a mind map for Matthayomsuksa 4 students to meet the criteria set at 80/80, to compare the students’ learning achievement of essay writing of Matthayomsuksa 4 students before and after learning through the essay writing exercises with a mind map; and to study the satisfaction of students on the essay writing exercises with a mind map for Matthayomsuksa 4 students. The population of this study was Matthayomsuksa 4 students. The sample was 38 Matthayomsuksa 4/1 students studying at Chiang Saen Wittayaom, Chiang Rai Province. The instruments used to collect data consisted of 6 exercises of essay writing with a mind map, lesson plans of essay writing in 14 hours, the essay-writing learning achievement test of before and after learning, and the 10-item satisfaction survey of students on the essay writing exercises with a mind map. It was analyzed by calculating mean, percentage, standard deviation, and t-test. The findings were as follows:

          1. The essay writing exercises with a mind map for Matthayomsuksa 4 students, had an efficiency of 81.02/81.68 which was higher the criteria set at 80/80.

          2. The learning achievement on essay writing of Matthayomsuksa 4 students learning with the essay writing exercises with a mind map was that the average pre-test score was 9.89 as a percentage of 49.47 whereas the average post-test score was 16.53 as a percentage of 82.63, higher than the average pre-test score before learning with the essay writing exercises with a mind map. The average score increased 6.63 as a percentage of 33.20. When comparing the pre- and post- test, it was found that the score of the post-test was higher than the pre-test at the 0.05 level of statistical significance, corresponding to the hypotheses.

          3. The satisfaction of students on using the essay writing exercises with a mind map for Matthayomsuksa 4 students was that the students satisfied at the level of the most with the average of 4.67, corresponding to the hypotheses.


Keywords


Essay Writing Exercises, Mind Map, Satisfaction

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.