ผลการจัดการเรียนรู้วิชาการบัญชีเบื้องต้น โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทำงานกลุ่ม และเจตคติต่อการเรียนบัญชีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Titinun Mongsiri, Parinya Thongsorn, Panpetch Romsye

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชีเบื้องต้นก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา 2)เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา 3)เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนบัญชีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 สาขาการบัญชี จำนวน 36 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา วิชาการบัญชีเบื้องต้น เรื่องบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและแยกประเภททั่วไป แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม จากการทำกิจกรรมจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนบัญชีที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)

        ผลการวิจัยพบว่า

             1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีเบื้องต้น เรื่องการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและแยกประเภททั่วไป ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสิติ .05

             2. ทักษะการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

             3. เจตคติต่อการเรียนบัญชีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการแก้ปัญหาของโพลยา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

 

 

Abstract

            The purposes of this research were; 1) to compare Basic Accounting student achievement before and after class by using STAD technique of cooperative learning with the problem solving of Polya. 2) for improve teamwork skill of student class by using STAD technique of cooperative learning with the problem solving of Polya. 3) to study attitude towards accounting learning of first year students of Certificate Level taught by using STAD technique of cooperative learning with the problem solving of Polya. The samples consisted of 36 students in first year students of Certificate Level in accounting program. They were drawn by using cluster random sampling technique from first year accounting students of Chonburi College of Technology Muang District, Chonburi Province in 1st semester of 2022 academic year. The research instrument were the lesson plans of Basic Accounting on the recording of entries in a general journal and ledged unit by using STAD technique in collaboration with cooperative the problem solving of Polya, Achievement test, teamwork skill assessment form from learning management activities by using STAD technique of cooperative learning with the problem solving of Polya. The data was analyzed by Mean, Percentage, Standard Deviation, and t-test Dependent.

          The research results were as follow:

                1.Post-test of student learning achievement of Basic Accounting on the recording of entries in a general journal and ledged unit by using STAD technique of cooperative learning with the problem solving of Polya was significantly higher than the pre-test at the 0.5 level.

                 2. Teamwork skill of student, that by using STAD technique of cooperative learning with the problem solving of Polya in class is excellent.

                 3.Attitude towards accounting learning of first year students of Certificate Level taught by using STAD technique of cooperative learning with the problem solving of Polya is excellent.


Keywords


learning STAD, Polya's probiemsomng method, technique in learning achievement, teamwork skills, attitude towords acciunting learning

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.