การบริหารต้นทุนการผลิตเพื่อพัฒนาศักยภาพ กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าชุมชนแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด และชุมชนต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนการผลิต และการปฏิบัติงาน
2) เพื่อหาแนวทางการบริหารต้นทุนการผลิตเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจทอผ้า ประชากรที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 58 รายประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าชุมชนแม่คือ จำนวน 27 ราย และ ชุมชนต้นเปา จำนวน 23 ราย และที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนจากชุมชนละ 4 ราย รวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปอุปนัยและสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าเกิดจากการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน มีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง สมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนการผลิต และได้คำนวณต้นทุนการผลิตของการทอผ้าโดยประมาณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยกลุ่มไม่ทราบต้นทุนการผลิตที่แท้จริง จึงจัดอบรมให้สมาชิกกลุ่ม ผลจากการจัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่ม สามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนได้ โดย แบ่งเป็นต้นทุนวัตถุดิบคือด้าย คิดเป็นร้อยละ 60 ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง คิดเป็นร้อยละ 20 ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต คิดเป็นร้อยละ 15 ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต คิดเป็นร้อยละ 5 2) ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการคำนวณต้นทุนการผลิต เพื่อตัดสินใจกำหนดราคาขายที่เหมาะสม และสร้างแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย รวมทั้งมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการ ให้สามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกกลุ่มในการบริหารต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้
Abstract
The purpose of this research is to investigate the structure of production cost and explore the guideline for managing production costs to promoting the competitiveness of the weaving community enterprise. A population is a complete set of 58 member with a sample is a subset of 27 member of Mae Kue weving group community enterprise, 23 member of Ton Poaw and 4 member of community enterprise advisor. Data were collected by interview forms, questionnaires and tests. Data were analyzed by inductive summaries and descriptive statistics.
Findings of this study, found that the weaving enterprise was bundling by the community members. Government agencies act as the main supporters for the continual development of knowledge related to their operations. Members have knowledge and understanding of production cost calculation and calculated the production cost of the product by estimating the expenses incurred. Corresponding, the group does not know the actual production cost of the product. Therefore, the training program was given to members of the weaving community enterprise. Thus, enabling the group's cost structure to be determined. The cost of raw materials are divided, direct raw material costs thread to 60%, direct labor cost thread to 20%, Cost of production costs equivalent thread to 15% non-production costs accounted thread to 5%, and the perceived knowledge from the training was applied to calculate production costs. To be used as an effective management guideline of the production cost. Optimizing production cost to increase revenue by reducing or controlling production costs and include focusing on internal problems solving such as how to manage the administration assistance for community enterprises to achieve the goals setting This basis information is the potential development of the group members in production costs management and increasing the potential competitiveness.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.