การศึกษาคุณค่าของประเพณีการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่มีอิทธิพลต่อชุมชนวัดป่ากล้วย ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

Phrakhrusamu Komkrich Apipunyo, Phrachaya nantamunee, Chamnarn Kerdchor

Abstract


บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประเพณีการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกของชุมชนวัดป่ากล้วย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่มีอิทธิพลต่อชุมชนวัดป่ากล้วย ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มประชากรจำนวน 25 รูป/คน

           ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกของชุมชนป่ากล้วย ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เป็นประเพณีที่กล่าวถึงการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในพระชาติสุดท้ายก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิยมเทศน์ในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี เป็นพุทธประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยอดีต อาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการในการจัดงาน ในชุมชนป่ากล้วยถือ การทำบุญที่มีอานิสงส์มากสำหรับผู้ฟัง หากฟังครบทั้ง 13 กัณฑ์เชื่อว่าอานิสงส์นั้นจะทำให้ได้ไปเกิดในพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตย อีกทั้งยังเป็นการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุ เป็นประเพณีที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ที่มีการบริหารจัดการด้านเวลา คน สถานที่ ทำนองการเทศน์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การให้ความร่วมมือของประชาชนในชุมชนในการร่วมกันจัดงานประเพณีขึ้น คุณค่าของประเพณีการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่มีอิทธิพลต่อชุมชนวัดป่ากล้วย ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
มีทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านความ 2) คุณค่าด้านคำสอน 3) คุณค่าด้านสังคม 4) คุณค่าด้านครอบครัว และ 5) คุณค่าด้านวัฒนธรรมประเพณี

 

Abstract

          This study aimed to 1. study Vessantara Jataka Tradition of Wat Pa Kluay Community, Sathan Sub-district, Na Noi District, Nan Province and 2. analyze the value of Vessantara Jataka tradition influencing Wat Pa Kluay Community, Sathan Sub-district, Na Noi District, Nan Province.  Applying qualitative research methods by documentary and in-depth interview was conducted with 25 key informants.

            The findings were as follows, Vessantara Jataka tradition of Wat Pa Kluay Community, Sathan Sub-district, Na Noi District, Nan Province was based on perfection of giving of Vessantara, the previous life of Buddha before he achieved enlightenment. The sermon of Prince Vessantara is celebrated annually during Loy Kratong festival. It was regarded as one of traditions transmitted from the past time accompanied by public participation.  listening to 13 chapters of Maha Vessantara Jataka preaching was considered merit-making that brings people more fruitfulness; they hold the reincarnation belief that they will be born during the Arimeiteiya Bhura era. Also, it was merit-making according to the principles of bass of meritorious action. Vessantara Jataka tradition represented the community’s identities as well as the well-organized system concerning time, place, and man. The preaching rhythm of Vessantara Jataka was unique. The value of Vessantara Jataka tradition influencing Pa Kluay community was divided in 5 aspects. 1. The value of beliefs. 2. The value of teaching. 3. Social value. 4. Family value and 5. Cultural and traditional values.


Keywords


Value, Vessantara Jataka Tradition, Pa Kluay community

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.