Editorial Policies

Focus and Scope

วารสาร มจร โกศัยปริทรรศน์ (Journal of MCU Kosai Review) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตงานวิชาการ การศึกษาค้นคว้า บทความต่าง ๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่บูรณาการร่วมกับศาสตร์สมัยใหม่ และสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการ การบูรณาการ การเผยแพร่ผลงาน องค์ความรู้ของนักวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่น ๆ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed)

       เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และบทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัดรวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

       ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความของวารสารถือเป็นนความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารทั้งนี้ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง กำหนดการออกเผยแพร่วารสาร ปีละ ฉบับ (ฉบับที่ มกราคม – เมษายนฉบับที่ พฤษภาคม - สิงหาคมฉบับที่ กันยายน - ธันวาคม)

 

Section Policies

บทความวิจัย

Checked Open Submissions Checked Indexed Checked Peer Reviewed

บทความวิชาการ

Checked Open Submissions Checked Indexed Checked Peer Reviewed

บทวิจารณ์หนังสือ

Checked Open Submissions Checked Indexed Checked Peer Reviewed
 

Peer Review Process

ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed)

 

Publication Frequency

กำหนดการออกเผยแพร่วารสาร ปีละ ฉบับ
ฉบับที่ มกราคม – เมษายน
ฉบับที่ พฤษภาคม - สิงหาคม
ฉบับที่ กันยายน - ธันวาคม

 

Open Access Policy

วารสาร มจร โกศัยปริทรรศน์ (Journal of MCU Kosai Review) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตงานวิชาการ การศึกษาค้นคว้า บทความต่าง ๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่บูรณาการร่วมกับศาสตร์สมัยใหม่ และสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการ การบูรณาการ การเผยแพร่ผลงาน องค์ความรู้ของนักวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่น ๆ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed)

       เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และบทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัดรวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

       ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความของวารสารถือเป็นนความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารทั้งนี้ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง กำหนดการออกเผยแพร่วารสาร ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม, ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม)

 

Ethics

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน
     1. เนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารเป็นการแสดงถึงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นที่ต้องเห็นด้วยเสมอไป รวมทั้งไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
     2. บทความทุกบทความที่นำมาตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นใดมาก่อน ยกเว้นบทความแปลภาษาต่างประเทศที่ผู้เขียนและสำนักพิมพ์ยินยอมให้แปลเป็นภาษาไทย
     3. บทความใดที่ได้รับการตีพิมพ์และมีผู้อ่านที่ตระหนักว่ามีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน ขอความกรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที
     4. บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต้องได้รับการตรวจและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน
     5. บทความจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ต้องได้รับการตรวจและประเมินในลักษณะ Double blinded

จริยธรรมของผู้เขียน
     1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งเข้ามายังวารสารยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ในกระบวนการกลั่นกรองบทความในวารสารอื่น
     2. ผู้เขียนต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ซึ่งทางวารสารจะตรวจสอบด้วยโปรแกรม Copy Cat ในระบบส่งบทความออนไลน์ Thaijo 2.0 ที่ตั้งค่าความซ้ำซ้อนไม่เกิน 25%
     3. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของวารสารอย่างเคร่งครัด ทั้งรูปแบบการจัดเอกสาร และหลักเกณฑ์การอ้างอิง
     4. ผู้เขียนต้องมีชื่อของตนเอง และผู้เขียนร่วม (หากมี) ปรากฏอยู่ในไฟล์บทความที่ส่งเข้ามายังระบบตอบรับบทความออนไลน์ ThaiJo 2.0 ของวารสาร
     5. ผู้เขียนต้องมีการอ้างอิงเนื้อหาต่างๆ ในบทความของตนเอง ทั้งข้อความ ภาพ ตาราง เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยให้ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยการอ้างอิงในเนื้อหาแบบ APA และระบุอย่างเป็นหมวดหมู่ในบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์การอ้างอิงของวารสาร หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ ทางวารสารจะดำเนินการถอนบทความออกจากการเผยแพร่ทันที และหากมีการฟ้องร้อง ทางวารสารฯ จะไม่รับผิดชอบ และให้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
     6. ผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่สร้างข้อมูลเท็จ บิดเบือน ตกแต่ง หรือตัดเนื้อความเพื่อประสงค์ให้สอดคล้องกับผลสรุป
     7. เมื่อผู้เขียนได้รับผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ต้องทำการปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งกลับมายังกองบรรณาธิการในกรอบเวลาที่กำหนด
     8. กรณีบทความที่ผู้เขียนส่งเข้ามาเป็นการแปลมาจากบทความภาษาต่างประเทศ ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสำนักพิมพ์ยินยอมให้แปลเป็นภาษาไทย
     9. ผู้เขียนไม่สามารถนำบทความที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารแล้วนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือแปลเป็นภาษาอื่นๆ เพื่อนำเสนอลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น และนำเสนอบทความในรูปแบบต่างๆ

จริยธรรมของบรรณาธิการ
     1. บรรณาธิการต้องกำกับ ติดตาม ดูแล และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร การรับรองคุณภาพของผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ความถูกต้องตามหลักจริยธรรมสากล และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
     2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ ซึ่งวารสารกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดรายชื่อ (Double blinded)
     3. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว โดยมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยดูผลประเมินจากโปรแกรม Copy Cat ของระบบตอบรับบทความออนไลน์ ThaiJo 2.0 ในระดับไม่เกิน 25% เพื่อให้แน่ใจว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นเกินตามที่กำหนดไว้ จะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนหลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การลงตีพิมพ์บทความนั้นๆ
     4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความโดยเด็ดขาด เพื่อรักษาไว้ซึ่งจริยธรรม จรรยาบรรณการทำงานอย่างเคร่งครัด
     5. บรรณาธิการสามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) และมีความพร้อมในการชี้แจงความเบี่ยงเบนต่างๆ จากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
     6. หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ทราบด้วย

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
     1. ผู้ประเมินควรคำนึงถึงคุณภาพบทความตามหลักวิชาการและจริยธรรมสากลเป็นหลัก โดยพิจารณาความสำคัญ ความใหม่ คุณค่าของเนื้อหาในบทความ ใช้ความเชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์คุณภาพและความเข้มข้นของผลงาน โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับ เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน
     2. ผู้ประเมินต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลทุกส่วนของบทความที่ทำการประเมินให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
     3. ผู้ประเมินต้องใส่ความคิดเห็นทางวิชาการของตนลงในแบบฟอร์มการประเมิน ที่อยู่ในระบบตอบรับบทความออนไลน์ของวารสาร ด้วยความเป็นนักวิชาการ มีความชัดเจน ปราศจากความอคติ รวมทั้งต้องส่งผลการประเมินบทความตรงตามกรอบเวลาที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด
     4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลทุกส่วนของบทความที่ตนประเมินไปเป็นผลงานของตนเอง ยกเว้นการอ้างอิงบทความหลังจากบทความที่ตนประเมินได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว
     5. กรณีผู้ประเมินพบว่าบทความที่ประเมินเป็นบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนผลงานอื่น ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
     6. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน

 

Payment

วารสาร มจร โกศัยปริทรรศน์ กำหนดอัตราการตีพิมพ์บทความละ 2,000 บาท ตามประกาศของมหาวิทยาลัย