การจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

Sombat Kanbut, Phrakru Pariyattiwarakorn (Simrat Boonkhuang)

Abstract


บทความเป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “การจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงของตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การศึกษาการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์มีกระบวนการผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรด้านการศึกษา สำนักงานกีฬาและท่องเที่ยว องค์กรด้านศาสนา องค์กรท้องถิ่น ซึ่งมีการทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เขตตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีศึกษาข้อมูลด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) วนอุทยานแพะเมืองผี ซึ่งเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ซึ่งสามารถค้นหาได้จากแหล่งข้อมูลของเพจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2) การรวมกลุ่มด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย 1) กลุ่มทำข้าวแคบ และ 2) กลุ่มทำข้าวแต๋น โดยการรวมกลุ่มด้านการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานจากภาครัฐ

          2. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์มีกระบวนการสัมมนากลุ่มเพื่อพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมสำหรับการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ โดยผลของการสัมมนากลุ่มมีประเด็น ดังนี้ 1) ด้านการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการข้อมูลชุมชน 3) ด้านการการมีส่วนร่วมในการนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์

          3. การวิเคราะห์ระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์เป็นการดำเนินการในระดับของหมู่บ้านโดยเกิดจากการรวบรวมข้อมูลซึ่งได้ทั้งจากการสังเกตการณ์ (Observation) ซึ่งนักวิจัยได้วิเคราะห์การจัดการระบบข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สร้างสรรค์ ดังต่อไปนี้ 1) การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล       2) การนำข้อมูลไปใช้ให้เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สร้างสรรค์


Full Text:

PDF

References


กรมประชาสัมพันธ์. (2553). คู่มือปฏิบัติงาน กระบวนการบริหารจัดการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานประชาสัมพันธ์.

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2543). ทฤษฎีและแนวทางการพัฒนาสังคม. เอกสารการสอนชุดวิชาคหกรรมศาสตร์กับการพัฒนาชุมชน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นคร สำเภาทิพย์. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นันทนีย์ กมลศิริพิชัยพร. (2560), ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. เอกสารประกอบการสอน วิชา 2681602 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2549). กระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้ของชุม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

มูลนิธิเพื่ออการพัฒนาเด็ก (มพด.). (2552). แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) เล่น...เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุข : แนวทางจัดสภาพแวดล้อมการเล่นสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร : แผนงานสื่อสร้างสุข ภาวะเยาวชน (สสย.)

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชน : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. ปทุมธานี : สถาบันวิชาการไทยวิจัยพัฒนาการจัดการ TRDM.

วรินพร แก้วสว่าง. (2565). การจัดการข้อมูล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/ newteamacc2559/kar-cadkar-khxmul (22 มีนาคม 2565)

สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศสานักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด. สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.

Davis. Keith. (1972). Human Behavior at Work: Human relation and Organization Behavior. Fourth edition. New York : McGraw-Hill Co.

Delbecq. A.L. & Andrew. H.V. (1977). A Group Process Model for Problem Identification and Program Planning. Applied Behavioral Sciences.

Oakley. A. (1984). The Captured Womb: A History of the Medical Care of Pregnant Women. Basil Blackwell. London : Oxford.

Vroom. V. H. (1970). Work and Motivation. New York : John Willey & son.

William W. Reeder. (1974). Some Aspects of the Informal Social Participation of Farm Families in New York State. New York : Cornell University.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.