วิเคราะห์การใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

Sayyasin Vongsonepheth, Phromares Kaewmola, Phra Rajakhemakorn

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ในในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในสังคมไทยปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาสภาพบริบทและปัญหาของการใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ 3. เพื่อวิเคราะห์การใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

ผลการศึกษาพบว่า

1. พระสงฆ์ในปัจจุบันใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพระพุทธศาสนาตามบทบาท และหน้าที่ ดังนี้ 1) ด้านการศึกษาพระธรรม ช่วยให้พระภิกษุได้เรียนรู้พระธรรมวินัยได้อย่างรวดเร็ว สะดวก 2) ด้านการนำความรู้ไปประพฤติ ปฏิบัติ โดยการค้นคว้าผ่านระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้ในทันที 3) ด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทำให้การเผยแพร่อย่างทั่วถึง คลอบคลุม และรวดเร็ว 4) ด้านการปกป้องพระพุทธ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์เป็นเรื่องดี การใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็จะเป็นประโยชน์และไม่เกิดความเสียหายแก่วงการคณะสงฆ์

2. สภาพบริบทของใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่มีการใช้สื่อประเภท YouTube (ยูทูบ) Facebook (เฟซบุ๊ก) Line (ไลน์) เป็นส่วนมาก และมีการใช้ Facebook (เฟซบุ๊ก) เป็นประจำมากที่สุด ในแต่ละวันใช้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง และส่วนใหญ่เพื่อการศึกษาและเพื่อการสื่อสาร ส่วนสภาพปัญหาพบว่า (1) การใช้ระบบเครือข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศภายในสถานศึกษาที่ขัดข้องบ่อยทำให้ใช้งานได้ไม่สะดวก (2) จำนวนผู้ดูแลและ บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย (3) พระภิกษุสามเณร ขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการใช้งานด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนการสอน และ (4) พระภิกษุสามเณรผู้เรียน ขาดแรงจูงใจในการศึกษาแบบออนไลน์

3. ระดับการใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้สื่อออนไลน์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในการศึกษาพระธรรมวินัย อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.45) ด้านการศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัยผ่านการใช้สื่อออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.49) และด้านการเผยแผ่พระธรรมวินัยผ่านสื่อออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.46)

คำสำคัญ: สื่อออนไลน์, การศึกษาพระธรรมวินัย, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระภิกษุสามเณร.

 

Abstract

          The objectives of this research are: 1. to study the theoretical concepts of using online media in the study of dharma discipline and the propagation of monks and novices in Thai society today; 2. to study the context and problems of using online media in A study of Dharma discipline and propagation of monks and novices in Mueang Phrae District, Phrae Province, and3. To analyze the use of online media in the study of Dhamma discipline and propagation of monks and novices in Mueang Phrae District, Phrae Province.

The research method is an integrated research method. both quantitative and qualitative research by quantitative research using survey research methods The sample used in the research and qualitative research Use in-depth interviews with key informants.

 

The research Finding

      1. Monks at present make use of information technology for Buddhism in accordance with their roles and duties as follows: 1) Dhamma study Helping monks to learn the Dhamma Vinaya quickly and conveniently. 2) Putting knowledge into practice by immediately searching through this modern technology system. 3) Buddhism propagation 4) Protection of the Buddha It's good to publicize activities that are of public interest. The use of social media will be beneficial and not detrimental to the Sangha community.

2. . The context of using online media of monks and novices in Mueang Phrae District, Phrae Province mostly used YouTube (YouTube), Facebook (Facebook), Line (Line) and used Facebook (Facebook) is the most frequent. Each day is spent about 5-6 hours and mostly for study and communication. As for the condition of the problem, it was found that1) The use of network systems of information technology within educational institutions that frequently crashes makes it inconvenient to use. Personnel have little knowledge and ability to use information technology. (3) Monks and novices lack of knowledge and experience in using online media in teaching and learning; and (4) monks and novices who learn. Lack of motivation to study online

3.The level of using online media in the study of monastic disciplines of monks and novices in Mueang Phrae District, Phrae Province was generally at a moderate level (= 3.47) online as teaching and learning materials in the study of the Dhammavinaya was at a medium level (= 3.45) in terms of study and research on monastic discipline through the use of online media was at a moderate level (= 3.49) and in the aspect of disseminating monastic discipline through online moderate (= 3.46)

Keyword: online media, the study of dharma, the propagation of dharma and discipline, monks and novices.


Keywords


สื่อออนไลน์, การศึกษาพระธรรมวินัย, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระภิกษุสามเณร, online media, the study of dharma, the propagation of dharma and discipline, monks and novices.

Full Text:

7237

References


ณัฐพล บัวอุไร.(2563) “ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนกร ธีระวุฒิชัยกิจ.(2562) “ปัจจัยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการอ่านนวนิยายในกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยนเรศวร

นายอาทิตย์ หลวงละ.(2559) “การใช้เว็บไซต์เฟสบุ๊กทางอินเทอร์เน็ตของพระสงฆ”. วิทยานิพนธ์วารสาร

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. (คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูสมุห์มานิตย์ ญาณธโร.(2564). อ้างใน วรัญญา เดชพงษ์ และ นริศรา ไม้เรียง. “อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาความรู้ของนักเรียนระดับชันมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน. ปีที่ 25.

พระมหาธนิต สิริวฒฺฑโน.(2562) “รูปแบบและกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย”. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. ปีที่ 15.

พระสาโรจน์ ธีรภทฺโท.(2561) “การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอักขราภิศุทธิ์ สิริวฑฺฒโน ลูนละวัน ดร.(2560) “กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระสงฆ์ในสังคมไทย”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูริทัต ศรีอร่าม.(2563) “แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา”. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, ปีที่ 5.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล.(2556) “เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน”. Princess of Naradhiwas University Journal. ปีที่ 5.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2565) สื่อส้งคม-เครือข่ายสังคม. [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttp://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=4357.

วิยะดา ฐิติมัชฌิมา.(2565) “เครือข่ายสังคมออนไลน์: แนวโน้ม ปรากฏการณ์ และจริยธรรม”.วารสารนักบริหาร ปีที่ 30.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.