ปัญหาการสอนและทักษะการพูดของครูยุคใหม่

Natchaphon Kongpan, Danai Tongboonma, Katekaw Kongklay

Abstract


การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของครู เนื่องจากในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนแต่ต้องอาศัยการพูดทั้งสิ้น การพูดจึงเป็นการสื่อสารที่ช่วยสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องใช้ทักษะการสื่อสารหลายทักษะร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ และนอกเหนือจากการสอนแล้ว ครูต้องทำงานด้านอื่น ๆ ในสถานศึกษาด้วย จะเห็นได้ว่าการทำงานของครู จะต้องอาศัยทักษะการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ปัญหาการพูดของครูที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ ครูออกเสียงไม่ถูกต้องทำให้นักเรียนเข้าใจความหมายผิด หรือมีปัญหาในการออกเสียง เช่น พูดเร็วและรัว หรือพูดเสียงเบาใช้เสียงต่ำเกินไป ครูจึงต้องพูดจาให้ถูกต้องชัดเจน เพราะหากครูสื่อสารเรื่องใดไม่ชัดเจนแล้วก็อาจเกิดผลเสียแก่ตัวนักเรียนได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพราะเพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเข้าใจถึง ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้ 1. ครูกับทักษะการใช้ภาษาและความสำคัญของภาษาสำหรับครู 2. การใช้ภาษาในการสื่อสารของครู ดังนี้ 1) ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารสำหรับครู 2) ภาษาช่วยให้ครูใช้ภาษาเหมาะสมกับสถานภาพของตน 3) ภาษาช่วยให้ครูใช้ภาษาที่สุภาพและหลีกเลี่ยงคำต้องห้าม และ3. ปัญหาการใช้ภาษาไทยสำหรับครู สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงของครูที่ได้เรียนรู้ ทั้งจากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการจริง ต่อไป


Keywords


ปัญหาการสอน, ทักษะการพูด, ครู, Problems with teaching, Speaking skill, Teacher

Full Text:

PDF

References


กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2563). ปัญหาการสอนทักษะการพูดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(2), 63-76.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และคณะ. (2556). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์. (2546). การพูดเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โชษิตา มณีใส. (2555). การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธุวพร ตันตระกูล. (2555). “การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ”. (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ. มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

ประยูร ทรงศิลป์. (2553). หลักและการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พรทิพย์ ไชยโส และคณะ. (2553). “การพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ”. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรทิพย์ พุกผาสุก. (2556). “ปัญหาการใช้ภาษาไทย” ใน ประมวลสาระชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารหน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระอธิการภูมิสิษฐ์ ปิยสีโล, และนัชพล คงพันธ์. (2565). การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 7(1), 188-199.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). “ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนภาษาไทย หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัชนี ศรีไพรวรรณ. (2545). ครูกับการใช้ภาษา. เอกสารการสอนชุดวิชาการใช้ภาษาไทย 1 หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วุฒินันท์ อบอุ่น. (2544). “ความต้องการแก้ปัญหาการสอนที่เน้นเรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แสงธรรม บัวแสงธรรม. (2557). พูดได้ พูดเก่ง พูดเป็น พูดดี. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์บุ๊คส์.

Culpeper, J. (2005). Impoliteness and entertainment in the television quiz show: The weakest link. Journal of Politeness Research. 1, 35- 72.

Culpeper, J. (2012). Politeness and impoliteness. In Andersen, G. and Aijmer, K. Editor. Pragmatics of Society, 393- 483. Berlin: Mouton de Gruyter


Refbacks

  • There are currently no refbacks.