การพัฒนาหลักสูตรด้านอาหารเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชน ตำบลแม่ยม อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

Chulaporn Duangtadum, Parichat Koonkleang

Abstract


การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านอาหารของชุมชนตำบลแม่ยม อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือก คือ แม่บ้านที่มีความสนใจ และประกอบอาชีพค้าขายอาหาร/อาหารท้องถิ่น เครื่องมือวิจัยคือการสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion ) แบบสอบถามความต้องการและ แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง หลักสูตร(IOC) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ตำบลแม่ยมทั้ง 4 หมู่บ้าน มีกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ 1) กลุ่มกล้วยฉาบ 2) กลุ่มน้ำพริกลาบ ซึ่งกลุ่มตำบลแม่ยมมีความ ต้องการพัฒนาอาหารในท้องถิ่น จึงระดมความคิดจากตัวแทนกลุ่มแม่บ้านตำบลแม่ยม อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ,อาจารย์ที่ปรึกษา และคณะทำงาน ได้พัฒนาโครงร่างหลักสูตร จำนวน 3 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรสำรับอาหารท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2) หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากวัตถุดิบในท้องถิ่น และ 3) หลักสูตรการส่งเสริม การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน แล้วนำไปให้ของผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารและโภชนาการ ตรวจสอบหลักสูตร พบว่า หลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร มีค่าความสอดคล้อง (IOC) เหมาะสมสอดคล้องในทุกประเด็นทั้ง 5 ด้าน โดยหลักสูตร ที่มีค่าความสอดคล้อง(IOC)มากที่สุด คือ หลักสูตรสำรับอาหารท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ มีความคิดเห็นมีค่าเท่ากับ 1.00 รองลงมา คือ หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหารจากวัตถุดิบในท้องถิ่น มีความคิดเห็นมีค่าเท่ากับ 0.92 และอันดับสุดท้าย คือ หลักสูตร การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความคิดเห็นมีค่าเท่ากับ 0.88 ซึ่งหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตรนี้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทชุมชนตำบลแม่ยม สามารถนำหลักสูตรไป ใช้ในการฝึกอบรมเพื่อสร้างอาชีพเสริมในชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือน สนับสนุนความ เข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนตำบลแม่ยม


Keywords


การพัฒนาหลักสูตร, อาหารเพื่อสุขภาพ, curriculum development, healthy food

Full Text:

PDF

References


ปาริชาต บัวเจริญ, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตน์กุล และ รัตนากาล คำสอน. (2559). การพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมทักษะวิชาชีวิต โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559 (RSU National Research Conference 2016).

พรรณี สวนเพลงและคณะ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2.

วิชัย ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:สุวีริยาสาส์น.

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.