พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธอปริหานิยธรรม 7 กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถาม จำนวน 352 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 รูป/คน วิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.69)
2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (r = .233**)
3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ความไม่พร้อมของหน่วยเลือกตั้ง การประชาสัมพันธ์ยังไม่มีความชัดเจน ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และควรมีการจัดทำคลิปเสมือนการเลือกตั้งจริงให้กับประชาชนได้ศึกษาผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ
Abstract
This Article aimed to study (1) to study the level of political participation behavior of the people in the election of members of the Phrae administrative organization council in Tung Nao Sub-district, Song District, Phrae Province (2) to study the relationship between the principle of Aparihāniyadhamma 7 and the political participation behavior of the people in the election of members of the Phrae administrative organization council in Tung Nao Sub-district, Song District, Phrae Province (3) to study the problems of obstacles, and suggestions on the behavior of the people's political participation in the election of members of the Parliament of the Provincial Administrative Organization Phrae in Tung Nao Sub-district, Song District, Phrae Province. This research is a Mixed methods research, including quantitative research using exploratory research methods from the questionnaire distribution with 352 people The data were analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation and the Pearson correlation coefficient, and qualitative research using in-depth interview methods with Key Informants 13 people, analyze key informant interviews by using content analysis techniques for context The research results were found as follows;
1) The level of political participation behavior of the people in the election of members of the Phrae administrative organization council in Tung Nao Sub-district, Song District, Phrae Province, with the overall being very high ( = 3.69).
2) The relationship between the principle of Aparihāniyadhamma 7 and the political participation behavior of the people in the election of members of the Phrae administrative organization council in Tung Nao Sub-district, Song District, Phrae Province, overall, has a relatively small positive correlation (r = .233**).
3) The problem of obstacles was found that as the spread of the 2019 Corona virus infection disease caused inconvenience in exercising voting rights, the availability of polling agencies, public relations were not clear, suggestions were made. It was found that it should be publicized through online media explaining about the procedures for exercising voting rights in accordance with the measures to prevent the spread of the Corona virus infection disease 2019 and that a virtual video of actual elections should be provided to the public studied through various social media.
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สามลดา.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย). (2562). การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการวรวุฒิ สุเมโธ (มีธรรม). (2563). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2560, มาตรา 133 (3) มาตรา 236, มาตรา 256 (1).
วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวรีย์ ศิริโภคารภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. (ลพบุรี : สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้าว. ข้อมูลพื้นฐาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thungnow.go.th/condition.php/ [10 ธันวาคม 2563].
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2545). การเมืองของพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
Refbacks
- There are currently no refbacks.