การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากผลิตผลทางการเกษตร ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้การมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชน ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ชัยวัฒน์ สมศรี, วิยะณี ดังก้อง, กรรณิการ์ เศวตปวิช, จุฬาภรณ์ ดวงตาคำ

Abstract


การวิจัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและความต้องการของชุมชนในการสร้าง มูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์จากผลิตผลทางการเกษตร ของสมาชิกชุมชนตำบลทุ่งแล้ง 2) เพื่อพัฒนา หลักสูตรในการการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากผลิตผลทางการเกษตรของสมาชิกชุมชนตำบล ทุ่งแล้ง และ 3) เพื่อประเมินผล การฝึกอบรมการสร้างสัมมาชีพด้วยหลักสูตรในการการสร้าง มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากผลิตผลทางการเกษตรของสมาชิกชุมชนตำบลทุ่งแล้ง เป็นการวิจัยแบบ ผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนกลุ่มสมาชิกเกษตร ในตำบลทุ่งแล้ง จำนวน 24 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย 12 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า ตำบลทุ่งแล้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ภายใต้การปกครองของ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร จำนวน 7,242 คน มีความต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของกล้วย โดยการพัฒนาหลักสูตรผลิตภัณฑ์กล้วยเบรกแตก แบรนด์ บรรจุภัณฑ์และช่องทางการจำหน่าย จากการประเมินความ พึงพอใจของการเข้าร่วมการอบรมพัฒนาสัมมาชีพ ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมใน ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.59 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 โดยเรียงลำดับด้าน ความพึงพอใจจากมากที่สุดคือ การให้บริการของเจ้าหน้าที่ รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้ จากการอบรม ความพึงพอใจด้านวิทยากร และ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ โดยผล ที่ได้จากการวิจัยสามารถสร้างให้เกิดอาชีพเสริมในชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือน สนับสนุนความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนตำบลทุ่งแล้ง

 


Full Text:

PDF

References


งานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแพร่. แผนพัฒนาจังหวัดแพร่ พ.ศ.2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2565). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://phrae.go.th/file_strategic/strategic. php. [2565, พฤษภาคม 17].

จินตวีร์ เกษมศุข. “แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน Public Participation Approach for Sustainable Community Development”, วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 26(50), (2561) :169-176.

บุณฑวรรณ วิงวอน, อาชวิน ใจแก้ว, อัจฉรา เมฆสุวรรณ, และปิยนุช คำเงิน. การสร้าง มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอเชียง แสนจังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ณ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 19 ธันวาคม 2560.

พินพัสนีย์ พรหมศิริ. กลยุทธ์การตลาดสำหรับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร : ประชาชาติธุรกิจ, 2547.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2560.

อรรชกา ศรีบุญเรือง. การประชุมทางวิชาการด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี (Woman’s Entrepreneurship Conference Bangkok 2017). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.sti.or.th/news-detail.php?news_id=165 [2565, พฤษภาคม 17]

อารีย์ นัยพินิจ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. “การปรับตัวภายใต้ กระแส โลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) : 1-17.

Andriopoulos, C. and Lowe, A Enhancing organizational creativity: The process of perpetual challenging. Management Decision, 37 (10), (2000).734-742.

Barney, J. B., Ketchen, D. J., & Wright, M. The future of resource-based theory revitalization or decline?. Journal of management, 37(5), (2011).1299- 1315.

Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. Participation’s Place in Rural Develop- ment : Seeking Clarity Through Specificity World Development. Vol 7.

George Deep. Does Age Matter For Entrepreneurial Success?. [Online]. Available : 2015. https: //www.forbes.com/sites/georgedeeb/2015/04/16/does-age-matter-for-entrepreneurial-success/#2c7df7ce30f1 Retrieved from [2022, May 17].

Men, L. R., & Hung, C. J. F. Exploring the roles of organization-public relationships in the strategic management process: Towards an integrated framework. International Journal of Strategic Communication, 6(2), (2012).151-173.

Munoz Castellenos, R. M., & Salinero Martin, M. Y. Training as a source of competitive advantage: performance impact and the role of firm strategy, the Spanish case. The international journal of Human Resource Management, 22(3), (2011), 574-594.

Sarfaraz, L., Faghih, N., & Majd, A.A. The relationship between woman entrepre- neurship and gender equality. Journal of Global Entrepreneurship Research, 2(1), (2014). 1 – 11.

Theepapan, P. Marketing Management. Bangkok: Amon printing, 2004.

Wiphawin, N. New product development skills. Bangkok: SE-Educations, 2003.

Trompenaars, F. and Hampden-Turner, Riding the waves of Innovation. New York: McGraw-Hill, 2010.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.