เจตคติและความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Abstract
รายงานการศึกษาเจตคติและความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยโดยใช้ เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทย ก่อนและหลังการ จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการ เรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทย หลังใช้ชุด แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย สูงกว่าก่อนใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย โดยหลังใช้ชุดแบบ ฝึกเสริมทักษะภาษาไทย ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มี X =25.00 (SD=1.642) และก่อนการใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มี X =9.79 (SD=2.843) โดยมีความแตกต่างทางสถิติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขายาวราษฎร์ พัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีเจตคติต่อการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ (x = 4.54, SD=0.54)
Keywords
Full Text:
7206References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลวิชญ์ เพิ่มศรี. (2559). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการจัดการ เรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทองใส อุทัยคำ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ประกอบนิทานพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บรรจง แสงนภาวรรณ. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus. วารสารวิชาการฉบับสาขาวิชา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2557).
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาศาส์น.
เมขลา ลือโสภา. (2556). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอบแบบ SQ4R กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
วิโรจน์ ธรรมจินดา. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558).
Refbacks
- There are currently no refbacks.