ศึกษาแรงจูงใจในการรักษาศีล ๕ ของประชาชนในชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

Phrakru Phairotpreechakorn Udomsuk, Phrabaideeka Sakdhithat Saengthong, Phromares Kaewmola

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความเป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “ศึกษาแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของประชาชนในชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของประชาชนในชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของประชาชนชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การศึกษาภาคสนามจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ประกอบเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. แรงจูงใจตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า พระพุทธเจ้าทรงมีจิตวิทยาชั้นสูงในการสอน พระพุทธเจ้าทรงเข้าพระทัยอัธยาศัยของผู้ฟังจึงทรงสามารถเลือกวิธีการต่าง ๆ ตรงกับพื้นฐานเดิมของผู้นั้น และทรงชี้แนวทางพุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 มี 4 พุทธวิธี (1) การใช้อภิญญาและแรงจูงใจภายใน
(2) การสร้างแรงจูงใจมุ่งสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา, (3) การสร้างแรงจูงใจโดยชี้ให้เห็นโทษการละเมิดศีล และ
(4) การสร้างแรงจูงใจโดยจุดหมาย

          2. จากการศึกษา พบว่า ประชาชนไม่ได้รักษาศีล 5 อยู่เป็นประจำ แต่มีช่วงเวลาในการรักษาศีล 5 ตามวาระสำคัญ และส่วนใหญ่ประชาชนไม่สามารถรักษาศีล 5 ได้ครบทุกข้อ รวมทั้งการรักษาศีลแบบเข้มงวดนั้นไม่สามารถทำได้ ในส่วนปัญหาและอุปสรรคของการรักษาศีล 5 ของประชาชนส่วนใหญ่ พบว่า ด้านการประกอบอาชีพที่ต้องอาศัยในการทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่เอื้อต่อการรักษาศีลให้ครบทุกข้อได้ ด้านการเสพสื่อออนไลน์ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก และการรับข้อมูลข่าวสารจริงหรือเท็จ และด้านสถานที่ที่มีผลต่อการรักษาศีล ชี้ให้เห็นว่าวัดเอื้อต่อการรักษาศีลได้ดี แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานสามารถควบคุมและรักษาศีลได้ยาก

          3. การวิเคราะห์แรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของประชาชนชุมชน ประกอบด้วยแรงจูงใจ 2 ประเภท คือ 1) แรงจูงใจภายนอก ประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ (1) แรงจูงใจจากวัดและพระสงฆ์ (2) แรงจูงใจจากจารีตประเพณี (3) แรงจูงใจจากโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และ (4) แรงจูงใจจากสื่อและโฆษณา ในส่วน
2) แรงจูงใจภายใน ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่ดี คือ ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่สะท้อนจากความรู้และอานิสงส์รวมไปถึงโทษที่เกิดจากการละเมิดที่เป็นบาปอกุศลธรรมจากศีล 5 ทำให้มีความรู้ความความเข้าใจ นำไปสู่การปฏิบัติกุศลธรรม (ธรรมะฉันทะ) จนสามารถพัฒนาตนเองได้ 

Abstract

          This research has three objectives: 1) to study the motivation for upholding the five precepts of people in Mae Yang Kwao Community, Rong Kwang District, Phrae Province according to Buddhism, 2) To study the behavior of the five precepts of the people in Mae Yang Kwao community. Rong Kwang District, Phrae Province, and 3) to analyze the motivations for Motivation for Upholding the five precepts of people in Mae Yang Kwao Community, Rong Kwang District, Phrae Province. It's mixed methods research between quantitative research methods with qualitative research. The field study from in-depth interviews with 15 key informants, then analyzing the content of the thesis.

          The research Finding

          1. The motivation according to Buddhism was found that The Buddha understood the disposition of the listeners and therefore was able to choose different methods that matched the original basis of that person. and pointed out the Buddhist way of motivating in keeping the 5 precepts, there are 4 Buddhist methods; (1) Apinya and intrinsic motivation, (2) Desire motivation, (3) Penalty motivation, and (4) Goal motivation.

          2. From the study, it was found that people did not keep the 5 precepts on a regular basis. But there is a time when keeping the 5 precepts on an important occasion and most of the people cannot keep all the 5 precepts, including the strict precepts cannot be done. Regarding the problems and obstacles in keeping the 5 precepts of the majority of people, it was found that the occupations that had to be relied on to earn a living and support the family. which is not conducive to keeping all the precepts. Online media consumption affects expression behavior. and receiving true or false information and the place that affects the precepts Indicates that the temple is conducive to keeping the precepts well. But at home or at work it is difficult to control and keep precepts.

          3. An analysis of the motivations for keeping the 5 precepts of the people in the community It consisted of 2 types of motivation: 1) extrinsic motivation, consisting of 4 issues: (1) motivation from temples and monks, (2) motivation from traditions, (3) motivation from the 5 precepts village project, and (4) motivation from media and advertising in part 2) internal motivation, namely good motivation, which is the basic needs in life reflected from knowledge and virtue, including the penalty caused by the violation of the 5 precepts, resulting in understanding leading to the practice of meritorious dharma (dharma chantha) until being able to develop oneself


Keywords


แรงจูงใจ, การรักษาศีล ๕, ชุมชนแม่ยางกวาว, Motivation, community information, Upholding the Five Precepts, Mae Yang Kwao Community

Full Text:

7236

References


กัญมาส เงินชูกลิ่น. (2563). การศึกษาการรณรงค์ชุมชนรักศีล 5 ของตาบลหัวง้ม อําเภอพาน จังหวดชียงราย”, สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2556). “กระบวนการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติตามหลักศีล 5 สำหรับผู้นำ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5 : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) (เมษายน-มิถุนายน 2560): ๔๓๕-๔๔๘.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สาคร สุขศรีวงศ์. การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จี.พี.ไซเบอร์พรินท์จำกัด.

สุภาภรณ์ แก่นจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขต 51. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์, (2556). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี : ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Angelo Kinicki, & Brian K. Williams. (2009). Management. New York : McGraw-Hill Education.

Phillip Kotler, & Gary Armstrong. (2002). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice Hall.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.