การปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Thongchan Vilaiphone, Raweerose Sricomepha, Phrasamu Anusorn Ruangpanyarat

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “การปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยเกี่ยวกับการครองตนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อเสนอแนวทางการปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน เป็นการวิจัยแบบวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การครองตนของพระสงฆ์เพื่อให้เข้าหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ เพื่อให้ปลอดภัยจากการระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ควบคู่ไปกับความพยายามรักษา และมีการปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ วิธีการจัดการ ตลอดจนพฤติกรรม ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร  ซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ได้กลายเป็นความปกติใหม่ จนในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้เกิดความคุ้นชินจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปกติของผู้คนในสังคม การครองตนของพระสงฆ์ในอดีตกาลนั้นพระสงฆ์ท่านจะอยู่อย่างเรียบง่ายตามแบบจารีตประเพณีดั้งเดิม อันมีรูปแบบที่มีความเคร่งครัด และมีการปฏิบัติตามอาจารย์ที่พาปฏิบัติ ในขณะเดียวกันในปัจจุบันนั้น พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะต้องปฏิบัติตามข้อวัตรและกิจของสงฆ์จากนั้นก็จะเป็นการศึกษาเล่าเรียน ทำให้พระสงฆ์มีภาระหน้าที่เพิ่มจากในอดีตและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและช่วยเหลือสังคม สิ่งเหล่านี้คือบทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบัน

          2. การจะดำรงความเป็นพระสงฆ์ที่เรียกว่าการครองตนให้อยู่ในสมณะสารูป โดยเอาหลักของปาราชิก 4 มาเป็นกรอบของการครองตนที่สำคัญที่สุดประการแรก คือ การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอดชีวิต เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด โดยละเว้นจากการเสพเมถุนธรรม และการละเว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ แม้เพียงทรัพย์เท่ากับห้ามาสกขึ้นไป และการพรากกายมนุษย์ หรือการฆ่าชีวิตของผู้อื่น และการกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม โดยการกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริง ซึ่งเป็นปาราชิก คือสิกขาบทข้อสี่ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ หากพระภิกษุสงฆ์รูปใดล่วงละเมิดก็จะขาดจากการเป็นพระสงฆ์ทันที

          3. การครองตนตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนานั้นมีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่ง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง และสามารถดำเนินชีวิตลักษณะที่เป็นทั้งสัมมาชีพและสัมมาปฏิบัติได้ เพื่อความสงบสุขของโลกและสังคมส่วนรวม รวมทั้งเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมและพัฒนามนุษย์ให้มีทั้งความดี ความงาม และความรู้ ทางด้านกาย จิตใจ ปัญญา จนถึงความหลุดพันจากความทุกข์ทั้งมวลได้อย่างถูกต้องและมีแบบแผนที่ดีงาม และสามารถเป็นแนวการปฏิบัติสืบต่อไป

คำสำคัญ: ความปกติใหม่, การปรับตัว, รูปแบบ, การครองตนของพระสงฆ์

 

Abstract

          The article presents the study results from the research. " An adaptation to the new normal of monks in Theravada Buddhism" with the objective 1. to study the doctrine and discipline on the self-reign of monks in Theravada Buddhism 2. to study the concept and pattern of the monks' adaptation to the new normal in Theravada Buddhism and 3. to propose guidelines for adapting to the new normal of monks in society. It is a documentary Research.

          The research Finding

          1. The reign of the monks in order to approach a new way of life in order to be safe from the spread of the COVID-19 virus, along with efforts to cure and adjusting the concept, vision, management method as well as behavior in terms of food, dress, hygiene Education, communication, which these new things have become the new normal. Until eventually, over time, it will become familiar to the point that it becomes part of the normal way of life of people in society. The reign of the monks in the past, the monks lived in a simple way according to the traditional customs. which has a strict form and follow the practice of the teachers At the same time in the present Most of the monks have to follow the monastic observances and activities, then study. This makes the monks have more responsibilities than in the past and have social responsibilities and contribute to society. These are the roles of monks today.

          2. To maintain the status of a monk is called the reign of being in a monk's body. By adopting the principles of the Pārajika 4 as the framework for self-dominance, the first and foremost being the conduct of the celibacy to be pure and complete throughout life to alleviate desire not for lust by refraining from drug use and refraining from taking things that the owner has not given even if only assets equal to five or more and the deprivation of the human body or the killing of others and boasting of Uttarimanusadhamma by mentioning things that are not true which is a parachute is the Pārajika 4 that the Lord Buddha prescribes. If any monk trespasses, they will immediately be disqualified from being a monk.

          3. Living according to the Bhāvanā 4 principles in Buddhism is of great value and benefit. can be applied in real life and able to lead a life that is both a right way of life and a right practice for the peace of the world and society as a whole including the importance of nature and the environment in which we live This is to promote and develop human beings with goodness, beauty and knowledge of body, mind and wisdom. Until being free from all suffering properly and with a good plan and can be a guideline for further practice

 

Keyword: The new normal, adaptation, form, monastic reign


Keywords


ความปกติใหม่, การปรับตัว, รูปแบบ, การครองตนของพระสงฆ์, online media, the study of dharma, the propagation of dharma and discipline, monks and novices

Full Text:

7238

References


จำนงค์ ทองประเสริฐ, (2539). พุทธศาสนากับสังคมและการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัทต้นอ้อแกรมมี่จำกัด.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2536). “การปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์โควิด-19 ตามแนวพุทธศาสน์”. วารสาร บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์.

ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ. (2559). พรไตรปิฎกวิเคราะห์ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 5. พิษณุโลก : บริษัทโฟกัส ปริ้นตริ้ง จำกัด.

พระครูปลัดสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน และพระปัญญารัตนากร, (2563). “การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมในยุคโควิด 19”. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

พระครูวรดิตถ์ธรรมาภรณ์ และคณะ. “แนวทางการปรับตัวการบริโภคปัจจัย 4 ของพระสงฆ์เขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม”. Journal of Modern Learning Development.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.