ศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์เกสา 5 เส้น ฉบับวัดร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

Lttichet Jaingarm, Prommares Kaewmola, Phramaha Sitthichai Chayasitthi

Abstract


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา เนื้อหา เกสา 5 เส้น ฉบับวัดร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อปริวรรต และตรวจชำระคัมภีร์ เกสา 5 เส้น ฉบับวัดร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรรมคัมภีร์เกสา ๕ เส้น ฉบับวัดร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผลการวิจัย พบว่า

1) คัมภีร์เกสา 5 เส้น เป็นคัมภีร์ที่จารึกไว้ที่วัดร่องฟอง ตำบร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สาระสำคัญคัมภีร์ใบลาน มีการจารพระไตรปิฎกลงบนใบลานครั้งแรก  ในการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 5 เมื่อพุทธศักราช 433 ณ มหาวิหารในลังกาประเทศ 

2) จากการปริวรรตคัมภีร์ใบลานเรื่องเกสา 5 เส้นนี้ พบว่า สามเณรกัตต เป็นผู้แต่งขึ้นมาในเดือน 11 ออก 2 ค่ำ ส่วนจุลศักราชไม่ได้บันทึกไว้ ซึ่งลักษณะตัวอักษรเป็นตัวธัมม์ล้านนาและเป็นภาษาไทยล้านนาเพื่อรักษาสืบไป

3) คติธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์เกสา 5 ผู้วิจัยได้ค้นพบสาระสำคัญของคติธรรม 5 เรื่อง ดังนี้ คือ (1) การสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุเกสาของสัมมาสัมพุทธเจ้า (2) หลักศรัทธา (3) การสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (4) บุญกิริยาวัตถุ 3 และ (5) ทศพิราชธรรม 10 คติธรรมเหล่านี้ล้วนมีจุดประสงค์ที่สอนให้คนได้ปฎิบัติตนในหลักคุณงามความดีและเพื่อสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจรรลงพระพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 วัสสา สืบต่อไป

Keywords


คัมภีร์เกสา 5 เส้น, การปริวรรตคัมภีร์, การตรวจชำระคัมภีร์, คติธรรม, วัดร่องฟอง, The Five kesā Scripture, The Scripture review, Purify the Scripture, Morale, Wat Rong Fong

Full Text:

PDF

References


กฤษณพร สวนแสง. (2557). อักษรขอม/ใบลาน/การศึกษาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร 2557.

พระมหาณัฐพล พลาธิโก (กาศสนุก). (2564). การตรวจชำระและศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์สืบชาตา ฉบับพระครูประโชติสิริวัฒน์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2564.

พระมหาสหัส ฐิตสาโร และคณะ. (2556). คัมภีร์ใบลาน การสืบค้น การอนุรักษ์การถ่ายทอดภูมิปัญญา อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. ศิลปวัฒนธรรมและกิจการพิเศษ: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.

พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ. (2563). การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สัพคุรุปเทสของพระพุทธศาสนาในล้านนา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ. (2563). ตำนานพระธาตุตะโค้งเจ้า (เก๋สา 8 เส้น) ฉบับใบลาน วัดร่องฟอง. แพร่: ไทยอุตสาหะการพิมพ์, 2563.

สถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น. (2559). เมืองคัมภีร์ธัมม์โบราณ มรดกธัมม์ มรดกโลก วัดสูงเม่น. แพร่: ไทยอุตสาหะการพิมพ์, 2559.

สมชาย ลำดวน. (2564). วัฒนธรรมใบลาน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม, 2564.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่. (2559). การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน. แพร่: ไทยอุตสาหะการพิมพ์, 2559.

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2560). คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร:สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2560.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.